กติกาการแข่งทุกรุ่นรายการ Nitto 3K Racing Car Thailand 2012

การสนทนาใน 'Racing Car Thailand' เริ่มโดย Circuit, 10 เมษายน 2012

โดย Circuit เมื่อ 10 เมษายน 2012 เมื่อ 06:57
  1. Circuit

    Circuit Member Super Moderator

    210
    1
    18
    Sporting Regulation
    รายการ Nitto 3K Racing Car Thailand

    1. ผู้ดำเนินการแข่งขัน
    บริษัท ฟาอีส ยูไนเต็ดมอเตอร์สปอรต์ จำกัด
    ที่อยู่ 1957 ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง จังหวัดกรุงเทพมหานคร
    โทร. 02-7227366

    2. วัตถุประสงค์การแข่งขัน
    2.1 เพื่อให้ผู้ที่สนใจกีฬาแข่งรถในรูปแบบ CIRCUIT มีจุดเริ่มในการแข่งขัน (BASIC)
    2.2 เพื่อให้ผู้ที่สนใจกีฬาแข่งรถ ได้เรียนรู้ทักษะในการขับรถแข่งอย่างถูกวิธี (LEARNING)
    2.3 เพื่อให้ผู้ที่สนใจกีฬาแข่งรถ ได้แลกเปลี่ยนทัศนะ และเทคโนโลยีต่างๆ ร่วมกัน (CAMPING)
    2.4 เพื่อให้ผู้ที่สนใจกีฬาแข่งรถ ได้รู้จักการแข่งขันรถยนต์อย่างแท้จริง (RACE)
    2.5 เพื่อให้ผู้ที่สนใจกีฬาแข่งรถ พัฒนาฝีมือและก้าวไปสู่การแข่งขัน พร้อมทั้งเป็นนักแข่งที่ดีในระดับต่อไป (IMPROVE)

    3. ประเภทของการแข่งขัน
    - การแข่งขันรถยนต์ทางเรียบเก็บคะแนนสะสมชิงแชมป์ประจำปี
    - ระดับการแข่งขัน SERIES CHAMPIONSHIP (SC)

    4. คณะกรรมการจัดการแข่งขัน
    ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์
    - ส.ส. สามารถ มะลูลีม
    - รศ.ดร. จรัญ มะลูลีม
    ผู้จัดการแข่งขัน
    - นายอดิศักดิ์ มะซอ
    นายสนาม
    - นายชยพล มาคล้าย
    เลขาธิการ
    - นายนิรันดร์ คงเขียว
    หัวหน้าชุดกรรมการจับเวลา
    - นางสุภาพันธ์ ภาษิตานนท์
    หัวหน้าฝ่ายสตาร์ทและฟินิช
    - นายธนเดช มาคล้าย
    หัวหน้าฝ่ายตรวจสภาพ
    - นายพรชัย อินศิริ[/td
    หัวหน้าชุดกรรมการพิท แพ็ดด็อก
    - นายธิติ ภู่สะอาด
    หัวหน้าชุดกรรมการธง
    - น.ต. ประพันธ์ แดงเนียม
    หัวหน้าฝ่ายเซฟตี้
    - นายปรัชญา แสงสว่าง
    ผู้ควบคุมศูนย์วิทยุสื่อสาร
    - นายชัยณรงค์ พันธกุล


    5. กำหนดการแข่งขันและสถานที่การแข่งขัน
    สนามที่ 1 วันที่ 4 - 6 พฤษภาคม 2555 สนามพีระเซอร์กิตพัทยา
    สนามที่ 2 วันที่ 1 - 3 มิถุนายน 2555 สนามพีระเซอร์กิตพัทยา
    สนามที่ 3 วันที่ 6 - 8 กรกฎาคม 2555 สนามแก่งกระจานเซอร์กิต
    สนามที่ 4 วันที่ 7 - 9 กันยายน 2555 สนามพีระเซอร์กิตพัทยา
    สนามที่ 5 วันที่ 2 - 4 พฤศจิกายน 2555 สนามโบนันซ่า
    สนามที่ 6 วันที่ 8 - 9 ธันวาคม 2555 สนามพีระเซอร์กิตพัทยา

    6. คุณสมบัติผู้เข้าร่วมการแข่งขัน
    - นักแข่งที่ไม่เคยร่วมทำการแข่งขัน และผู้สนใจ
    - นักแข่ง ผู้ถือใบอนุญาตขับรถแข่ง ร.ย.ส.ท.

    7. หลักฐานการรับสมัคร
    - ใบสมัคร
    - ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์
    - ใบอนุญาตขับแข่งรถยนต์ ที่ออกโดยราชยานยนต์
    - หนังสือรับรองจากผู้ปกครอง พร้อมสำเนาบัตรประชาชน (ในกรณีที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ)

    8. รุ่นการแข่งขัน


    9. ค่าสมัคร
    ค่าสมัคร 2,500 บาท ชำระล่วงหน้าก่อนการแข่งขันตามวันที่กำหนดของแต่ละสนาม
    สถานที่รับสมัคร
    บริษัท ฟาอีส ยูไนเต็ดมอเตอร์ สปอร์ต จำกัด หรือ email: [email protected]

    10. รางวัลในการแข่งขัน/จ่ายตามจำนวนรถผันแปร
    [table="class: grid"]
    อันดับที่
    จำนวน 8 คัน
    จำนวน 12 คัน
    1​
    3,000 บาท + ถ้วย + ของรางวัล
    3,000 บาท + ถ้วย + ของรางวัล
    2​
    ถ้วย + ของรางวัล
    1,500 บาท + ถ้วย + ของรางวัล
    3​
    ถ้วย + ของรางวัล
    1,000 บาท + ถ้วย + ของรางวัล
    4​
    ถ้วย + ของรางวัล
    ถ้วย + ของรางวัล
    5​
    ถ้วย + ของรางวัล
    ถ้วย + ของรางวัล
    [/table]

    [table="class: grid"]
    อันดับที่
    จำนวน 16 คัน
    จำนวน 20 คัน
    จำนวน 24 คัน
    1​
    5,000 บาท + ถ้วย + ของรางวัล
    7,000 บาท + ถ้วย + ของรางวัล
    10,000 บาท + ถ้วย + ของรางวัล
    2​
    2,000 บาท + ถ้วย + ของรางวัล
    2,000 บาท + ถ้วย + ของรางวัล
    5,000 บาท + ถ้วย + ของรางวัล
    3​
    1,000 บาท + ถ้วย + ของรางวัล
    1,000 บาท + ถ้วย + ของรางวัล
    2,000 บาท + ถ้วย + ของรางวัล
    4​
    ถ้วย + ของรางวัล
    ถ้วย + ของรางวัล
    1,000 บาท + ถ้วย + ของรางวัล
    5​
    ถ้วย + ของรางวัล
    ถ้วย + ของรางวัล
    ถ้วย + ของรางวัล
    [/table]
    หมายเหตุ
    1. นักแข่งต้องติดเครื่องหมาย หรือตราผลิตภัณท์สินค้าที่ผู้จัดกำหนดไว้ให้ติดที่ตัวรถและชุดแข่ง
    2. นักแข่งผู้ชนะเลิศ และรองชนะเลิศ 2 - 4 ต้องมาแสดงตนขึ้นรับรางวัลหากไม่สามารถรับได้ ให้ทำหนังสือแจ้งไปที่คณะผู้จัดการแข่งขันและระบุผู้รับแทน
    3. เป็นหน้าที่ของนักแข่งที่จะต้องติดตามประกาศต่างๆ ของการแข่งขัน

    11. ข้อตกลงในการเข้าร่วมการแข่งขัน
    11.1 ผู้สมัครเข้าร่วมการแข่งขันทุกท่านต้องเคารพ กติกาและรูปแบบการแข่งขัน การตัดสินของกรรมการถือเป็นสิ้นสุด
    11.2 ต้องปฎิบัติตามกฎกติกา มารยาท น้ำใจนักกีฬา ของการแข่งขัน หากผู้สมัครหรือทีมงานท่านใดประพฤติไม่เหมาะสม ผู้จัดขอสงวนสิทธิ์ ในการเข้าร่วมการแข่งขัน (นักแข่งต้องรับผิดชอบทีมงาน)
    11.3 กติกาอื่นๆ ที่ไม่ได้ระบุให้อยู่ในดุลยพินิจของกรรมการควบคุมการแข่งขัน พิจารณาตามกติกาการแข่งขันรถยนต์แห่งชาติ (NCR)
    11.4 นักแข่งที่ซ้อมและแข่งขัน ต้องมีอุปกรณ์สำหรับการแข่งขัน ประกอบด้วย ชุดแข่ง ถุงมือ หมวกกันน๊อค รองเท้าแข่ง เข็มขัดนิรภัย ที่มีมาตรฐานรับรอง
    11.5 รถแข่งทุกคันต้องมีไฟหน้า ไฟท้าย ไฟเลี้ยว ระบบปัดน้ำฝน ตามมาตรฐานของรถยนต์นั้นๆ

    12. สัญญาณธงที่ใช้ในการแข่งขัน
    [​IMG]

    13. การตรวจสภาพรถที่เข้าร่วมการแข่งขัน
    13.1 รถแข่งทุกคัน ต้องเข้าตรวจสภาพตามกติกาเทคนิค ก่อนการจับเวลาหรือในช่วงเวลาที่ผู้จัดการแข่งขันกำหนดไว้
    13.2 จะต้องนำชุดแข่ง หมวกกันน๊อค ถุงมือ รองเท้า ร่วมตรวจสภาพพร้อมรถแข่ง
    13.3 อุปกรณ์พื้นฐานของรถยนต์ที่ใช้แข่งคันนั้นๆ จะต้องใช้งานได้จริง
    13.4 ต้องมีถังดับเพลิง, หูลากหน้าหลัง, โรลบาร์, เข็มขัดนิรภัย อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
    13.5 กรรมการตรวจสภาพ มีสิทธิ์ตรวจสอบรถแข่งและอุปกรณ์ต่างๆ ได้ตลอดเวลา

    14. การประชุมนักแข่ง
    นักแข่งทุกท่าน ต้องเข้าร่วมประชุมตามเวลาของโปรแกรมการแข่งขัน อยู่ร่วมประชุมจนจบพร้อมทั้งเซ็นต์ชื่อเข้าร่วมการประชุม โดยถือเป็นข้อปฏิบัติอย่างเคร่งครัด หากไม่เข้าร่วมประชุมต้องนำรถต่อท้ายแถวของการแข่งขันในสนามนั้นๆ

    15. การจับเวลารอบคัดเลือก
    15.1 การจับเวลารอบคัดเลือก ให้ใช้ช่วงเวลาหนึ่งในการจับเวลา และใช้เวลาต่อรอบที่ดีที่สุดจัดอันดับการสตาร์ทในการแข่งขัน
    15.2 หากผลการจับเวลารอบคัดเลือกรถแข่งคันใดมีเวลาเท่ากัน ให้จัดอันดับตามลำดับที่ทำเวลาได้ก่อน
    15.3 ระเบียบวินัยการใช้สนาม สัญญาณธง สัญญาณไฟ ให้เป็นไปตามกติกาสนามตาม NCR
    15.4 ไม่อนุญาต ให้นำรถกลับเข้ามาเติมน้ำมัน ซ่อมแซม หรือแก้ไขใดๆ ทั้งสิ้น
    15.5 ในการนำรถกลับเข้ามาผ่าน PIT IN ถือเป็นสิ้นสุดของการจับเวลา และต้องนำรถจอดในบริเวณ PARK FERME หรือจุดที่จัดให้จอดของแต่ละสนาม
    15.6 จำนวนรถ เวลาในการคัดเลือก, สถานการณ์ต่างๆ ให้อยู่ในดุลยพินิจ ของนายสนามเป็นสำคัญ
    15.7 ผลการจับเวลาและตำแหน่ง START จะติดไว้ที่บอรด์ประชาสัมพันธ์ก่อนการแข่งขัน

    16. การแข่งขัน
    16.1 เป็นหน้าที่ของนักแข่งที่จะต้องเตรียมพร้อม เมื่อถึงกำหนดแข่งขัน และตรวจสอบประกาศต่างๆ
    16.2 ก่อนเวลาตามกำหนดการแข่งขันในรุ่นนั้นๆ ปากทางพิทจะเปิดให้รถลงสู่สนาม ก่อนถึงเวลาเริ่มแข่ง 10 นาที ปากทางพิทจะปิดลง รถแข่งที่มาช้าต้องเป็น PIT START เท่านั้น
    16.3 ขั้นตอนเริ่มแข่งขัน มีดังนี้
    - ป้าย 10 นาที แสดงขึ้นบริเวณเส้น START หมายถึง บอกเวลาว่า อีก 10 นาทีจะเริ่มทำการแข่งขัน
    - ป้าย 5 นาทีแสดงขึ้น หมายถึง ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องต้องออกจากบริเวณจุด START ยกเว้นนักแข่ง ผู้จัดการทีม และทีมงาน
    - ป้าย 3 นาทีแสดงขึ้น หมายถึง ทีมงานสามารถอยู่กับรถแข่งได้ 1 คน และนักแข่งพร้อมในรถ
    - ป้าย 1 นาทีแสดงขึ้น หมายถึง รถแข่งสตาร์ทเครื่องยนต์และทีมงานทุกคนออกจากจุด START ห้ามใช้กระแสไฟจากภายนอกช่วยสตารท์เครื่องยนต์หรือรับการช่วยเหลือจากทีมงานเพื่อ START เครื่องยนต์ก่อนกรรมการอนุญาต
    - ป้าย 30 วินาทีแสดงขึ้น หมายถึง รอสัญญาณธงเขียวเพื่อเข้าสู่รอบ WARM UP LAP นักแข่งต้องรักษาตำแหน่งของตนเองและห้ามแซง
    * ขั้นตอนการเริ่มแข่งขัน อาจมีการเปลี่ยนแปลงในบางรุ่น ให้ตรวจสอบจากประกาศและการประชุมแต่ละสนาม
    16.4 การออก START เป็นแบบ STANDING START โดยใช้สัญญาณไฟ ในการออก START
    16.5 การ START หลังจากธงแดง ให้นำรถกลับเข้า GRID START ตามตำแหน่งของรอบก่อนที่จะมีธงแดงเกิดขึ้น โดยรอบการแข่งขันที่เหลือ อาจจะถูกลดลง พิจารณาโดยนายสนาม รถแข่งคันที่กลับเข้าพิทจะเป็น PIT START

    17. การนับผลผู้จบการแข่งขัน
    17.1 รถที่จบการแข่งขันโดยสมบูรณ์ หมายถึง รถที่ผ่านธงหมากรุกในรอบสุดท้ายนับผลการแข่งขันตั้งแต่รถคันแรกเข้าเส้นชัย ถือเป็นอันดับที่ 1 และอันดับต่อไปตามลำดับ
    17.2 หากการแข่งขันต้องหยุดลงไม่ว่ากรณีใดๆ ก็ตาม ซึ่งได้ทำการแข่งขันมากกว่า 75 % ของระยะทางการแข่งขันของสนามนั้นๆ ให้ถือว่าการแข่งขันสมบูรณ์และนับผลตำแหน่งผู้ชนะตามลำดับของระยะทางและเวลา
    17.3 รถแข่งที่จบการแข่งขันจะต้องจบด้วยกำลังของเครื่องยนต์ของรถแข่งคันนั้นเท่านั้น

    18. การเก็บคะแนนสะสมประจำปี
    การเก็บคะแนนในรุ่น F, O

    [table="class: grid"]
    อันดับ
    ลงทะเบียน
    race 1
    race 2
    รวม
    1​
    10​
    5​
    10​
    25​
    2​
    10​
    4​
    9​
    23​
    3​
    10​
    3​
    8​
    21​
    4​
    10​
    2​
    7​
    19​
    5​
    10​
    1​
    6​
    17​
    [/table]

    การเก็บคะแนนในรุ่น C
    [table="class: grid"]
    อันดับ
    ลงทะเบียน
    race
    รวม
    1​
    10​
    10​
    20​
    2​
    10​
    9​
    19​
    3​
    10​
    8​
    18​
    4​
    10​
    7​
    17​
    5​
    10​
    6​
    16​
    [/table]
    18.1 นักแข่งที่สมัครเข้าร่วมการแข่งขันและเซ็นต์ชื่อลงทะเบียน พร้อมทั้งนำรถผ่านเส้น START ใน RACE ใด RACE หนึ่ง จะได้รับคะแนนเก็บ 10 คะแนน ทุกคันในรุ่นนั้นๆ
    18.2 นักแข่งที่จบการแข่งขันในอันดับ 1 - 5 ของแต่ละ RACE จะมีคะแนนเก็บตามตารางข้างต้น
    18.3 ในกรณีที่รถแข่งไม่จบการแข่งขันโดยสมบูรณ์ ถูกนับผลเป็น DNF หากรถคันดังกล่าวจบการแข่งขันอยู่ในอันดับ 1 - 5 จะได้คะแนนเก็บตามตารางข้างต้น
    * บางสนามอาจมีคะแนนเก็บเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษ ให้นักแข่งติดตามประกาศของการแข่งขัน *

    19. สิทธิ์ในการโฆษณา บนรถแข่ง
    19.1 อยู่ในความรับผิดชอบของนักแข่ง ที่จะต้องติดสติกเกอร์และเครื่องหมายของผู้สนับสนุนการแข่งขันที่ผู้จัด กำหนดให้ตามตำแหน่งที่ระบุ
    19.2 สิทธิ์ของการเผยแพร่ภาพการแข่งขัน ชื่อนักแข่ง ทีมแข่ง หรืออื่นๆ ถือเป็นอำนาจของผู้จัดการแข่งขัน
    19.3 การกระทำใดๆ ในการโฆษณาหรือกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการตลาด ถือเป็นอำนาจของผู้จัดการแข่งขัน
    19.4 สิทธิ์ของการรับสมัครหรือปฎิเสธการเข้าร่วมการแข่งขัน ถือเป็นอำนาจของผู้จัดการแข่งขัน

    20. การประท้วง
    การประท้วงต้องปฎิบัติตามกติกาของ ร.ย.ส.ท. โดยทำหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษร และยื่นต่อนายสนามเพื่อส่งถึงคณะกรรมการควบคุมการแข่งขัน
    20.1 นักแข่งผู้เข้าแข่งขันหรือผู้จัดการทีมที่มีใบอนุญาตเป็นผู้จัดการทีมเท่านั้นเป็นผู้มีสิทธิ์ประท้วง ไม่รับการประท้วงจากบุคคลอื่น (ผู้ประท้วงจะต้องอยู่ในรุ่นและการแข่งขันนั้นๆ)
    20.2 การประท้วงการจับเวลาของผู้จัดแข่ง กรรมการควบคุมการแข่งขันจะทำหน้าที่พิจารณาคำประท้วง คำตัดสินของกรรมการควบคุมการแข่งขันถือเป็นสิ้นสุด
    20.3 การประท้วงส่วนประกอบภายนอกรถแข่งทั้งหมดที่มองเห็นและคุณสมบัติของนักแข่ง ต้องประท้วงก่อนเวลาทำการแข่งขัน 30 นาที
    20.4 การประท้วงอื่น ๆ ต้องประท้วงหลังเวลาประกาศผลการแข่งขันแล้วไม่เกิน 30 นาที
    20.5 ไม่อนุญาตให้ประท้วงการตัดสินว่าออกรถก่อนสัญญาณ (JUMP START) หรือการปรับโทษ STOP AND GO ในกรณีต่างๆ
    20.6 ค่าธรรมเนียมในการประท้วงการแข่งขันต้องเป็นเงินสดเท่านั้น และคณะกรรมการดำเนินการแข่งขันจะคืนค่าธรรมเนียมในการประท้วง หากการประท้วงนั้นเป็นผลต่ออันดับ วงเงินประกันการท้วง
    - การประท้วงผลการแข่งขัน 10,000 บาท
    - การประท้วงเทคนิคของตัวรถ 10,000 บาท

    21. การอุทธรณ์
    การอุทธรณ์ใดๆ อันสืบเนื่องจากผลการประท้วงที่กรรมการควบคุมการแข่งขันเป็นผู้พิจารณานั้น ต้องยื่นต่อราชยานยนต์สมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (ร.ย.ส.ท.) ภายใน 2 วันทำการ หลังจากวันแข่งขันพร้อมค่าธรรมเนียมตามที่ระบุไว้ใน NCR
    หมายเหตุ คณะกรรมการ ร.ย.ส.ท จะไม่คืนค่าธรรมเนียมข้างต้น ไม่ว่าการอุทธรณ์นั้นจะเป็นผลหรือไม่ก็ตาม

    22. มารยาทและวินัยของนักแข่ง
    22.1 นักแข่ง/ทีมแข่ง จะต้องศึกษาและปฎิบัติตามกฎข้อบังคับของคณะกรรมการดำเนินการแข่งขันอย่างเคร่งครัด
    22.2 นักแข่ง/ทีมแข่ง จะต้องเชื่อฟังกรรมการที่ปฎิบัติหน้าที่ดำเนินการแข่งขัน นายสนามและกรรมการควบคุมการแข่งจาก ร.ย.ส.ท.
    22.3 นักแข่งมีหน้าที่ในการป้องกัน/ระวัง มิให้เกิดอุบัติเหตุต่อผู้อื่น ตลอดช่วงระยะเวลาการแข่งขัน
    22.4 นักแข่งจะต้องมีสติ สุขภาพพลานามัยสมบูรณ์ ไม่เสพสารเสพติดให้โทษหรือมีปริมาณแอลกฮอล์ ในกระแสเลือดเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ตลอดช่วงระยะเวลาการแข่งขัน

    23. บทลงโทษ
    23.1 ตักเตือนด้วยวาจา พร้อมลายลักษณ์อักษร
    23.2 หากมีการกระทำซ้ำในลักษณะเดิม หรือเจตนา พิจารณาห้ามทำการแข่งขัน
    23.4 กรณีมีการทะเลาะวิวาทโดยนักแข่งหรือทีมงาน พิจารณาห้ามร่วมทำการแข่งขัน
    23.5 กรณีทำผิดกติกาเทคนิค จะถูกปรับให้ออกจากการแข่งขันเป็น DQF ไม่มีคะแนนเก็บสะสมในสนามนั้นๆ
    23.6 นักแข่งจะต้องรักษามารยาทอันดีงาม มีน้ำใจเป็นนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย หากแสดงความไม่เหมาะสมใดๆ ในเรื่องดังกล่าว สิทธิขาดเป็นอำนาจของกรรมการผู้ควบคุมการแข่งขัน
    23.7 การพิจารณาบทลงโทษ ทุกกรณี กระทำโดยกรรมการควบคุมการแข่งขันและนายสนาม


    TECHNICAL REGULATION
    (ส่วนกลาง)
    กติกาเทคนิค การแข่งขัน Nitto 3K Racing Car Thailand 2012

    ให้นำไปประกอบกับกติกาเทคนิคเฉพาะรุ่นตามคุณสมบัติและปริมาตรความจุในรุ่น F, O ต่างๆ ที่กำหนด

    1. ข้อกำหนดรถแข่ง
    - ต้องเป็นรุ่นที่ผลิตออกจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป
    - ต้องเป็นรถยนต์ที่มีจำนวนประตูตั้งแต่ 2 ประตูขึ้นไป
    - ต้องมีจำนวนที่นั่งตั้งแต่ 2 ที่นั่งขึ้นไป และตำแหน่งของผู้ขับจะต้องอยู่ในตำแหน่งเดิมของรุ่นนั้นๆ
    - ต้องมีระบบขับเคลื่อนเพียง 2 หรือ 4 ล้อเท่านั้น

    2. ข้อกำหนดตัวถัง
    - ต้องรักษารูปทรงของรถไว้เป็นหลัก
    - กระจกบังลมหน้าและหลังต้องเป็นแบบ 2 ชั้น (LAMINATED) เท่านั้น
    - กระจกประตูหน้าและหลังทั้งด้านซ้ายและขวา อนุญาตให้ใช้วัสดุที่แข็งแรงมีความปลอดภัยทดแทนได้
    - ไม่จำกัดความสูงของตัวรถ
    - ต้องรักษาโครงสร้างตัวถังภายในห้องโดยสารให้คงสภาพเดิมจากโรงงานเท่านั้น
    - ต้องคงสภาพแผงแคชบอร์ดหน้าเดิมที่มาจากโรงงานเท่านั้น
    - อนุญาตให้ถอดแผงประตู, พรมพื้น, ผ้าหลังคา, เบาะคนนั่งและเบาะผู้โดยสารตอนหลังหรืออื่นๆ ที่เป็นวัสดุที่สามารถติดไฟได้ง่าย

    3. ข้อกำหนดเครื่องยนต์
    - ต้องเป็นเครื่องยนต์ที่มีปริมาตรความจุกระบอกสูบไม่เกิน รุ่นที่กำหนด รหัสเครื่องอยู่ในพิกัด
    - สามารถเปลี่ยนหรือเพิ่มจำนวนกล่องควบคุมเครื่องยนต์ได้
    - การปรับแต่งภายในเครื่องยนต์อิสระ
    - เสื้อสูบและฝาสูบต้องคงสภาพภายนอกจากโรงงาน
    - ต้องคงสภาพเดิมของจุดยึดเครื่องยนต์ กรณีสร้งจุดยึดใหม่ต้องมีความแข็งแรงและปลอดภัย
    - อากาศที่ผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงต้องมาจากบรรยากาศในสนามแข่งขันเท่านั้น
    - ห้ามไนตรัสหรืออื่นๆ ที่มีค่าออกซิเจนสูงกว่าอากาศ

    4. ข้อกำหนดระบบส่งกำลังและขับเคลื่อน
    - ต้องรักษารูปแบบการเปลี่ยน เกียร์แบบ H-PATTERN ไว้
    - เสื้อเกียร์อิสระเปลี่ยนเฟืองเกียร์ได้ อัตราทดอิสระ
    - ฟลายวีล คลัทช์และเฟืองท้ายอิสระ

    5. ข้อกำหนดระบบช่วงล่าง
    - จุดยึดช่วงล่างต้องเป็นตำแหน่งที่มาจากโรงงาน
    - ช็อคอัพ, สปริง และเหล็กกันโคลงอิสระ
    - เปลี่ยนบู้ชยางเป็นลูกหมากได้ ไม่จำกัดวัสดุ

    6. ข้อกำหนดระบบเบรค
    - เปลี่ยนจานเบรค คาลิปเปอร์ ผ้าเบรค อิสระ
    - ระบบระบายความร้อนเบรคไห้ใช้ได้เฉพาะอากาศจากบรรยากาศภายในสนามแข่งขันเท่านั้น

    7. ข้อกำหนดระบบความปลอดภัย
    - ต้องติดตั้งถังดับเพลิงในสภาพพร้อมใช้และเป็นถังดับเพลิงที่ได้มาตรฐาน
    - ต้องติดตั้งโครงเหล็กกันกระแทกภายในห้องโดยสาร
    - ท่อต่างๆ ที่ผ่านบริเวณห้องคนขับต้องเป็นชนิดทนไฟ
    - เข็มขัดนิรภัยต้องมีไม่ต่ำกว่า 4 จุด ความกว้างตั้งแต่ 2 นิ้วขึ้นไป
    - ต้องติดตั้งสวิตซ์ตัดไฟบริเวณห้องคนขับและภายนอกและติดสัญลักษณ์ให้เห็นได้ชัดเจน
    - หากมีการติดตั้งแบตเตอรี่ภายในห้องโดยสาร ต้องยึดติดและล้อมรอบด้วยกล่องที่เป็นวัสดุกันไฟ และต้องติดตั้งบริเวณผู้ช่วยคนขับ แบตเตอรี่ที่ใช้ต้องเป็นแบบแห้ง
    - สตาร์เตอร์ต้องยึดติดและสามารถใช้งานได้ตลอดเวลาและต้องเป็นไฟฟ้าอย่างเดียว
    - อุปกรณ์แสงสว่างต้องสามารถทำงานได้ตลอดการแข่งขันและคงรูปทรงของไฟหน้า ไฟท้ายตามรูปแบบของรถ
    - ต้องมีหูลากจูงติดตั้งไว้ทั้งด้านหน้าและท้ายของรถ แข็งแรงแน่นหนาขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่ต่ำกว่า 80 มม. และไม่เกิน 100 มม.

    8. ข้อกำหนดล้อและยาง
    - ไม่จำกัดขนาด ความกว้างและน้ำหนักของล้อรถยนต์ แต่ต้องวัดจากแนวดิ่งด้านข้างตัวถังบริเวณซุ้มล้อแล้วไม่เกินออกด้านนอก
    - ให้ใช้เฉพาะยางประเภทเรเดียลเท่านั้น (ไม่จำกัดความสูงของดอกยาง) แต่ไม่จำกัดขนาด ความกว้าง และน้ำหนักของยาง (อนุญาตยางกลุ่มพิเศษเฉพาะรุ่นที่กำหนด)
    - ไม่จำกัดจำนวนล้อและยางที่ใช้ทั้งในการซ้อมการคัดเลือกและการแข่งขัน
    หมายเหตุ ยางบางยี่ห้อ และรุ่น อยู่ในดุลยพินิจของคณะผู้จัดการแข่งขันที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้แข่งขัน

    9. ข้อกำหนดระบบคายไอเสีย
    - ท่อไอเสียต้องติดตั้งให้แน่นหนา ไม่ร่วงหลุดระหว่างการแข่งขัน
    - ไม่มีการวัดระดับความดังของเสียง
    - ไม่วัดปริมาณ, สีของไอเสีย

    10. ข้อกำหนดถังน้ำมัน
    - ต้องเป็นถังน้ำมันที่ติดตั้งมากับรถ
    - อนุญาตให้ใช้ถังเชื้อเพลิงประเภท SAFETY TANK

    11. เชื้อเพลิง
    - ให้ใช้เชื้อเพลิงเบนซินหรือแก๊สโซฮอล์ โดยไม่จำกัดค่าอ๊อกเทน

    12. ข้อกำหนดอากาศพลศาสตร์
    - กันชนหน้าและหลังสามารถเปลี่ยนวัสดุได้ เช่น ไฟเบอร์กลาส
    - ถ้ามีสปอยเลอร์หลัง ความยาวทั้งตัวต้องไม่เกินแนวดิ่งด้านข้างของตัวถังรถ จากจุดติดตั้ง
    - ฝากระโปรงหน้า, หลัง, ประตู สามารถเปลี่ยนวัสดุได้ แต่ต้องมีความแข็งแรงเพียงพอ

    หมายเหตุ กติกาเทคนิคนี้ ใช้สำหรับรถที่เข้าร่วมการแข่งขัน รายการ Nitto 3K Racing Car Thailand แบ่งแยกรุ่นการแข่งขัน ตามรหัสเครื่องยนต์, ลักษณะเครื่องยนต์ ปีที่ผลิตของรถรุ่นนั้นๆ และระบบขับเคลื่อน หากมีลักษณะใดที่มิได้กำหนดไว้ ให้อยู่ในดลุยพินิจของนายสนามและคณะกรรมการจัดการแข่งขัน


    รูปแบบการรักษาความปลอดภัยในการแข่งขัน (SAFETY PLAN)
    สำหรับกรรมการและชุดดำเนินการต่างๆ
    - จัดให้มีรถพยาบาล, เจ้าหน้าที่พยาบาล, จุดจอดรถพยาบาลพร้อมเครื่องมือในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
    - ตรวจสอบเส้นทาง การเดินทางสถานพยาบาลใกล้เคียง
    - จัดให้มีทีมกู้ภัย พร้อมรถกู้ภัย ประจำการแข่งขัน
    - จัดให้มีรถลาก รถยกพร้อมจุดจอด ไว้คอยช่วยเหลือกรณีเกิดอุบัติเหตุ หรือรถเสีย
    - จัดเตรียมอุปกรณ์กู้ภัย ถังดิบเพลิง ปูนขาว ไม้กวาด พร้อมทั้งตรวจสภาพก่อนแข่งขันทุกสนาม
    - จัดตั้งศูนย์วิทยุ พร้อมเจ้าหน้าที่ควบคุม
    - วิทยุสื่อสารสำหรับกรรมการทุกท่าน พร้อมเจ้าหน้าที่ดูแลวิทยุสื่อสารให้พร้อมใช้งานตลอดการแข่งขัน
    - กรรมการธงประจำ MP ต่างๆ พร้อมอุปกรณ์ช่วยเหลือเบื้องต้น
    - จัดให้มีกรรมการ PIT LANE, กรรมการตรวจสภาพความปลอดภัย
    - ประชุมกรรมการปฎิบัติงานก่อนการแข่งขัน
    - ประชุมสรุปรายงานผลการปฎิบัติงานหลังการแข่งขัน

    สำหรับนักแข่งและทีมงาน
    - รถยนต์ที่วิ่งผ่าน PIT LANE ทุกคัน ต้องใช้ความเร็วไม่เกินที่กำหนดไว้ 60 km/h และบริเวณ Paddock ทุกคัน ต้องใช้ความเร็วไม่เกิน 20 km/h ตามที่กำหนด
    - ไม่อนุญาตให้ลงไปทำการซ้อมนอกเหนือเวลาที่กำหนด
    - รถแข่งที่จะลงสู่สนามแข่งได้จะต้องผ่านการตรวจสภาพจากจุดตรวจสภาพและจากกรรมการปากทาง PIT ในอีกขั้นตอนด้วย
    - ระหว่างหรือหลังจากจบการแข่งขันแต่ละครั้ง ไม่อนุญาตให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องและรถใดๆ ลงไปวิ่งในทางวิ่งแข่งขัน ยกเว้นรถของกรรมการที่กำลังปฎิบัติงาน หากมีชิ้นส่วนใดๆ ของรถแข่งตกอยู่ในสนามให้แจ้งกรรมการควบคุมทางวิ่ง
    - ระหว่างกำหนดเวลาการแข่งขัน หากนักแข่งท่านใดประสบอุบัติเหตุ ให้ปฎิบัติตามคำแนะนำของกรรมการประจำจุดนั้นๆ อย่างเคร่งครัด ห้ามนักแข่งจอดรับนักแข่งที่ประสบอุบัติเหตุภายในสนามแข่งขัน
    - เมื่อเกิดอุบัติเหตุ, รถเสีย ไม่สามารถทำการแข่งขันต่อได้ให้นักแข่ง ปิดสวิทซ์ตัดไฟแล้วออกจากตัวรถ พร้อมเจ้าหน้าที่กู้ภัยเข้าไปรับ นำไปยังจุดปลอดภัย
    - เมื่อคณะกรรมการดำเนินการแข่งขันสั่งหยุดการแข่งขัน ในระหว่างการแข่งหรือซ้อมหลังการตีธงแดง ห้ามผู้ใดลงไปในสนามแข่งขัน ยกเว้นกรรมการที่กำลังปฎิบัติหน้าที่
    - หลังเกิดอุบัติเหตุ รถแข่งที่เกิดอุบัติเหตุรวมถึงอุปกรณ์ประจำตัว อาจจะถูกตรวจสอบจากกรรมการตรวจสภาพอีกครั้ง
    - นักแข่งและผู้เกี่ยวข้องที่ไม่เชื่อฟังเรื่องกฎข้อบังคับเกี่ยวกับความปลอดภัย ผู้จัดการแข่งขันขอสงวนสิทธิ์ไม่ให้เข้าร่วมการแข่งขัน
    - เป็นหน้าที่ของนักแข่ง และทีมแข่งที่จะต้องตรวจสอบรักษาสภาพรถแข่งให้สมบูรณ์พร้อมสำหรับการแข่งขันอย่างปลอดภัยสูงสุด


    รายละเอียดเพื่อความปลอดภัยในการแข่งขันประกอบ SAFETY PLAN
    รายการ Nitto 3K Racing Car Thailand 2012
    นักแข่ง เครื่องแต่งกาย
    1. ชุดแข่ง จะต้องเป็นชุดที่ปกปิดร่างกายทุกส่วนอย่างมิดชิด เริ่มตั้งแต่ ช่วงคอ จนถึงข้อมือสิ้นสุดข้อเท้า เป็นชุดที่มีความกระชับเย็บติดกันเป็นชุด SHOP ผลิตในประเทศหรือต่างประเทศ ได้รับมาตรฐานจาก FIA (ไม่จำกัดปีผลิต) หรือมาตรฐานอื่นๆ
    - ตรวจความพร้อม สภาพชุดแข่งก่อนแข่งขัน
    - กรณีไม่สามารถจัดหาได้ ให้ใช้เสื้อยืดแขนยาว กางเกงยีนส์ขายาวเป็นมาตรฐานสุดท้าย (เฉพาะรุ่น C เท่านั้น)

    2. หมวกกันน๊อค จะต้องเป็นลักษณะเต็มใบปิดหน้า มีสายรัดคางอย่างแน่นหนา และใช้งานได้ตามปกติ มาตรฐานจะต้องผ่านคุณภาพของมาตรฐานอุตสาหกรรม (ม.อ.ก.) หรือหมวกที่มีมาตรฐานจาก FIA (ไม่จำกัดปีผลิต) และมีผ้าคลุมศรีษะ ปิดหน้า ปิดคอ (BALAGLAVAS) เพื่อความสมบูรณ์ของความปลอดภัย
    - ตรวจความพร้อม สภาพของหมวก สายรัดคาง และการใช้งาน
    - กรณีไม่สามารถจัดหาได้ ไม่อนุญาตให้ทำการแข่งขัน

    3. ถุงมือ จะต้องเป็นลักษณะที่ปิดตั้งแต่ข้อมือ และนิ้วทุกนิ้วอย่างมิดชิดเป็นถุงมือที่ได้รับมาตราฐานจาก FIA หรือมีมาตรฐานรับรอง
    - ตรวจความพร้อมใช้งานและสภาพไม่ฉีกขาด
    - กรณีไม่สามารถจัดหาได้ ให้ซื้อถุงมือแบบที่มีความฝืดสูงในการขับมอเตอร์ไซค์

    4. รองเท้า จะต้องเป็นรองเท้าพื้นบางใช้สำหรับขับรถ หุ้มส้น หุ้มข้อ และมีระบบติดรัดอย่างแน่นหนา เป็นหนังหรือผ้าใบถ้ามีมาตราฐาน FIA หรือมาตรฐานรับรอง สวมใส่ถุงเท้า
    - ตรวจความพร้อมใช้งาน สภาพพื้นจะต้องติดแน่น
    - กรณีไม่สามารถจัดหาได้ ไม่อนุญาตให้ทำการแข่งขัน

    สภาพร่างกาย
    ก่อนแข่งจะต้องมีการประชุม นักแข่งจะต้องมารายงานตัวด้วยตัวเอง จะเป็นการเช็คสภาพความพร้อมไปในตัวด้วย กรณีนักแข่งท่านใดไม่เข้าประชุม จะต้องต่อท้ายในการแข่งขัน การประชุมจะให้ความรู้เรื่องต่างๆ เพื่อความเข้าใจที่ตรงกันในการแข่งขัน
    การเตรียมความพร้อมเพื่อการแข่งขันมีดังนี้
    - จะต้องงดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอส์
    - จะต้องพักผ่อนให้เพียงพอ
    - งดใช้ยาที่มีอาการง่วงซึม หรือยาที่ทำให้ประสาทรับรู้ช้าลง
    - กรณีร่างกายไม่พร้อมหรือไม่มั่นใจให้ถอนตัวจากการแข่งขัน

    รถแข่ง
    สภาพรถต้องพร้อมแข่ง ต้องมีการตรวจอุปกรณ์ดังนี้
    ระบบสัญญาณไฟต่างๆ ต้องใช้งานได้
    - ไฟแสงสว่าง สูง, ต่ำ
    - ไฟเลี้ยว ซ้าย, ขวา
    - ไฟเบรก
    - ไฟฉุกเฉิน

    ระบบอำนวยความสะดวก
    - ปัดน้ำฝนต้องใช้งานได้
    - กระจกต้องขึ้น-ลง ทำงานได้ตามปกติ

    ล้อและยาง
    - ล้อจะต้องอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ไม่ดุ้งหรือคดจนเป็นอันตราย
    - ยางจะต้องไม่ปูด บวม อยู่ในกติกาแต่ละรุ่น
    - ในกรณีที่ประกาศเป็น WET RACE อนุญาตให้ใช้ยางได้ทุกประเภทเพื่อความปลอดภัย

    ท่อไอเสีย
    - จะต้องติดตั้งอย่างแน่นหนาและปลายออกทางด้านท้ายเท่านั้น
    - กรณีหลุดหรืออยู่ในตำแหน่งอันตรายกรรมการจะเรียกเข้าทันที

    ตัวถัง
    - จะต้องอยู่ในสภาพสมบูรณ์
    - จะต้องไม่มีอุปกรณ์ หรืออุปกรณ์เสริมไปสร้างความเดือดร้อนกับผู้ร่วมการแข่งขันอื่น

    เข็มขัดนิรภัย
    - ต้องมีเข็มขัดนิรภัยอย่างน้อย 4 จุด และสามารถใช้งานได้ตามปกติ (สำหรับรุ่น F, O)
    - ต้องมีเข็มขัดนิรภัยติดรถ และสามารถใช้งานได้ตามปกติ (สำหรับรุ่น C)

    เบาะ
    - ควรจะเป็นแบบบักเก็ตซีท เพื่อใช้ในการแข่งขันและมีกันกระแทกที่ศรีษะด้านข้าง
    - ถ้าไม่มีอนุญาตให้ใช้เบาะติดรถแต่สภาพขา และส่วนควบต้องสมบูรณ์

    โรลบาร์
    - ต้องมีจุดยึดเกาะกับตัวถังอย่างน้อย 6 จุด ขึ้นไป และมีกั้นกระแทกด้านข้าง
    - ในรุ่น F และ O ต้องมีโรลบาร์ทุกคัน

    น้ำมันเชื้อเพลิง
    - ห้ามเติมใน GRID START และจุดที่จะเป็นอันตรายต่อตัวเองและผู้อื่น
    - ต้องเก็บรักษาเชื้อเพลิงสำรองให้มิดชิด
    - ในการจัดเตรียมเชื้อเพลิงทั้งเบนซินและดีเซล ควรแยกถังน้ำมันอย่างชัดเจน

    ถังดับเพลิงในรถ
    - ต้องมีขนาดไม่ต่ำกว่า 2 กิโลกรัม และจะต้องยึดอยู่ในตำแหน่งที่แน่นหนาไม่ก่อให้เกิดปัญหาขณะแข่งขัน

    อุปกรณ์และทรัพย์สินในรถที่เคลื่อนไหวได้
    - ให้นำออกนอกรถขณะทำการแข่งขัน อาทิ กระเป๋าถือ, กระเป๋าเสื้อผ้า, กระบอกน้ำ,รองเท้า อื่นๆ ให้นำออกนอกรถ

    สนามแข่งและกรรมการควบคุมการแข่งขัน
    1. จะต้องให้ความรู้ ความเข้าใจและทำให้นักแข่งรู้จักสนามแข่งขันให้ได้มากที่สุด
    - ภาคทฤษฎี จะมีการประชุมชี้แจงสภาพพื้นผิวและเส้นทางให้นักแข่งได้รับรู้มากที่สุด GIDE LINE เบื้องต้นเกี่ยวกับการใช้เกียร์และความเร็วในแต่ละจุดของสนาม
    - ภาคปฏิบัติ จะมีรถ PACE CAR นำเพื่อให้นักแข่งได้จับถูก LINE มากที่สุด ในวันฝึกซ้อม พร้อมทั้งมีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำและแก้ไขปัญหาความไม่เข้าใจตลอดเวลา

    2. จำกัดการแซงในจุดอันตรายสำหรับบางสนามแข่ง
    โดยมีกฎเกณฑ์ในที่ประชุมในสนามนั้นๆ อาทินักแข่งท่านใดที่แซงตามจุดดังกล่าวจะต้องถูกออกจากการแข่งขันทันทีโดยคำตัดสินของกรรมการถือเป็นสิ้นสุด

    3. กรรมการประจำจุด MP ต่างๆ
    จัดให้มีกรรมการประจำ ทุกๆ MP โดยในแต่ละจุด จะมีอุปกรณ์ควบคุมความปลอดภัยและอำนวยความสะดวก อาทิเช่น ถังดับเพลิง, ไม้กวาด, ปูนขาว, ธงสีต่างๆ ฯลฯ

    4. รถกู้ภัย แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
    1. รถกู้ภัย กระบะ จะมีอุปกรณ์ให้ความช่วยเหลือ อาทิ ถังดับเพลิง ไม้กวาด ปูนขาว และสายลากรถ
    2. รถยกกู้ภัย จะใช้รถสไลด์แบบที่ สไลด์ลงมาโดยมีวินซ์ สำหรับกู้รถโดยเร่งด่วนได้
    3. รถ PACE CAR ใช้สำหรับนำก่อนการแข่งขันและตรวจเช็คเส้นทางหลังจากจบการแข่งขันแต่ละรุ่น

    5. ความสะอาดและปลอดภัยของสนาม
    ก่อนและหลังทำการแข่งขันจะมีกรรมการ ตรวจเช็คสภาพสนามไม่ให้มี น้ำมัน เศษยาง เศษหินอยู่ใน TRACK จุดไหนที่มีอุปสรรคเหล่านี้อยู่ กรรมการจะต้อง CLEAR ให้เรียบร้อยก่อนทำการแข่งขันรุ่นต่อไป

    6. วิทยุสื่อสาร
    กรรมการและ STAFF ทั้งหมดจะต้องมีวิทยุสื่อสารติดต่อถึงกันเพื่อแจ้งเหตุและ CLEAR สถานการณ์ต่างๆ ตลอดเวลา

    7. รถพยาบาลและเจ้าหน้าที่พยาบาล
    จัดให้มีรถพยาบาลและเจ้าหน้าที่พยาบาลพร้อมอุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้นพร้อมนำส่งโรงพยาบาล ประจำสนามจนสิ้นสุดการแข่งขัน
     

ความคิดเห็น

การสนทนาใน 'Racing Car Thailand' เริ่มโดย Circuit, 10 เมษายน 2012

แบ่งปันหน้านี้