ไอเดียดีๆ ป้องกันรถของคุณจากน้ำท่วมง่ายๆ และ เตือนป้องกันน้ำท่วม (อัพเกรดเรื่อยๆ)

การสนทนาใน 'Racing Forum (Cars Forum)' เริ่มโดย seila4club, 10 ตุลาคม 2011

< Previous Thread | Next Thread >
  1. seila4club

    seila4club Active Member Member

    997
    47
    28
    [​IMG]

    ตอนนี้พี่น้องคนไทยกำลังประสบปัญหาน้ำท่วม ตามห้างร้านก็เปิดให้เอารถเข้าไปจอดกันบนที่สูงได้ ถ้าหากว่าคุณสะดวกอย่างงั้น นั่นก็เป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับการป้องกันไม่ให้รถของคุณโดนน้ำท่วมได้ แต่วันนี้ เรามี idea ใหม่ ที่อาจจะป้องกันน้ำจากรถของคุณได้ไม่ยาก จากการใช้ “ถุงคลุมกันน้ำแบบกลับหัวกลับหาง” ซึ่งก็น่าจะป้องกันน้ำท่วมได้จริงเหมือนกันครับ

    ตอนแรกผมก็ Google หาดูว่า จะมีสินค้าประเภท ถุงพลาสติกคลุมรถ หรือไม่เพราะเคยเห็นในข่าวเมื่อตอนน้ำท่วมครั้งก่อนแต่ปรากฏว่า ก็ยังไม่ได้ทำเป็นสินค้ามาขาย และค้นหาไมเจอใน internet แต่อย่างใดครับ เพราะงั้นถ้าหากว่าชอบ concept ของถุงกันน้ำท่วมคลุมรถ แบบนี้แล้วล่ะก็ คุณไม่ต้องไปหาซื้อทีไหนไกลกันแล้วล่ะครับ เพราะ แค่ผ้าคลุมรถธรรมดาๆ ก็ป้องกันน้ำท่วมรถยนต์คันงามของคุณได้แล้ว !

    [​IMG]

    มาใช้ผ้าคลุมรถกันน้ำท่วมเพื่อป้องกันรถคุณจากน้ำท่วมกันเถอะ!

    เริ่มมาให้ผ้าคลุมรถ โดยเลือกเอา size XL หรือยิ่งใหญ่ยิ่งดี เพราะจะได้สวมใส่กันได้สะดวก เพราะ concept ของเราคือ การเอาผ้าคลุมรถแทนที่จะใส่จากด้านบน ก็เอามาใส่จากด้านล่างแทนครับ ตอนที่คุณเลือกผ้าคลุมรถ ต้องเป็นผ้าหรือเป็นวัสดุอะไรก็ตามที่กันน้ำได้ด้วยเท่านั้น เพราะอาจจะมีผ้าคลุมรถที่กันน้ำไม่ได้ (อันนี้ไม่แน่ใจว่ามีเหรอป่าวแต่ว่าถ้าหากว่าจะเอา sure ให้ถามคนขายด้วยน่ะครับว่า ผ้าคลุมรถอันนี้กันน้ำได้แบบ 100% ด้วยหรือไม่)

    ผ้าคลุมรถเป็นแบบที่ขอบยางเสียหน่อยก็น่าจะดีเพราะว่า ตอนสุดท้ายแล้ว เมื่อคุณเอาไปคลุมรถเสร็จ มันก็จะเข้ารูปเหมือนกับเป็นการใส่เกงกางให้กับรถสุดรักของคุณยังไงล่ะครับ และทั้งนี้ก็จะเป็นการง่ายต่อการคลุมที่กระชับอีกด้วย

    [​IMG]

    เริ่มต้นให้วางผ้าคลุมรถไว้ ณ ตำแหน่งที่คุณอยากจะจอดรถเอาไว้เช่น ที่จอดรถบ้านคุณเองเป็นต้น แล้วก็ให้คนจับมุมเอาไว้ทั้งสองฝั่ง ถ้าหากว่าจะให้ง่ายที่สุดผมแนะนำว่า ควรจะมีคนจับมุมทั้งสี่ฝั่งไว้เลยจะทำให้การถอดจอดรถเพื่อเข้าผ้าคลุมรถทำได้ง่ายมากๆ หลังจากนั้นก็ให้คนขับถอยรถช้าๆ และเปิดกระจกรถเอาไว้เผื่อว่าจะตะโกนหากันตอนที่ คนจับผ้าโดนรถเหยียบก็จะได้บอกคนขับรถได้ครับ

    การถอยรถต้องค่อยๆถอย โดยผ่านมุมเข้าผ้าคลุมช้าๆเป็นแนวเดียวกับผ้าคลุมรถ และ ผ้าคลุมควรจะต้องขึงตึงเอาไว้ เพราะ เราไม่อยากจะให้รถเหยียบผ้าคลุมเอาไว้ เดี๋ยวมันจะยกขอบผ้าคลุมไม่ขึ้นครับ

    เมื่อถอยรถได้ตำแหน่งอยู่กลางผ้าคลุมแล้วก็ให้คุณเอาขอบของผ้าคลุมคลุมเอาไว้รอบคัน ทั่วทั้งคันครับ และ สำหรับการป้องกันที่จะทำได้จริง คุณจะต้องติด tape กาวแบบที่เมื่อมีน้ำชะจะต้องไม่หลุดลอกออกมาด้วยครับ แนะนำว่าให้แปะก็แปะทั่วทั้งคันเพื่อความมั่นใจได้ว่า น้ำจะไม่ซัดหรือดึงผ้า หรือไปกร่อนเนื้อกาวเพื่อให้ผ้าคลุมหลุดลอกออกมาได้ง่ายๆ

    ผมว่าวิธีการนี้ คือ การใช้ผ้าคลุมรถกันน้ำท่วม โดยเอามาคลุมแบบกลับหัวนั้น น่าจะเป็นทางเลือกที่ทำได้ง่าย ด้วยอุปกรณ์ที่หาซื้อได้จากห้างร้านค้าทั่วไปครับ เลยอยากจะเอามา share ไว้ที่ Rackmanagerpro.com แห่งนี้ครับ ถ้าหากว่ามีคนได้ลองและได้ทำจริงและ อยู่ในสถานการณ์จริงแล้วได้ผลเห็นผลสำเร็จแล้ว comment ทิ้งเอาไว้ให้ด้วยน่ะครับ ผมจะได้มั่นใจว่า เมื่อน้ำไหลบ่ามาเขตบ้านผม ผมจะเอาผ้ามาคลุมไว้เพื่อป้องกันน้ำซึมเข้าตัวรถครับ

    ขออนุญาติที่เวปrackmanagerpro ขอบคุณที่ช่วยแบ่งปั่นนะครับ
     
    แก้ไขล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 ตุลาคม 2011
  2. KengRacing

    KengRacing Active Member ทีมงานสมาชิก Administrator

    932
    113
    43
    ถ้าท่วมครึ่งคัน ไอเดียนี้ใช้ได้ พอจะกันน้ำเข้ารถได้
    แต่ตอนนี้มันจะท่วมทั้งคันแล้วสิ มีถุงใส่ให้รถลอยน้ำได้ไหมละ :D
     
  3. seila4club

    seila4club Active Member Member

    997
    47
    28
    วิธีป้องกันไม่ให้น้ำท่วมบ้านอย่างได้ผล

    น้ำท่วมเชียงใหม่ปีนี้ บ้านผมก็หนีไม่พ้นอีกเช่นเคย เพราะอยู่ในโซนหมายเลข 1 ที่น้ำจะต้องท่วมก่อนโซนอื่น ๆ ยังโชคดีที่ อบต.ปรับปรุงถนนหน้าหมู่บ้านให้มีความสูงมากขึ้นมาตั้งแต่ต้นปี ดังนั้นถึงแม้ระดับน้ำจากแม่น้ำปิงจะสูงเกินค่าวิกฤติ คือ 3.70 เมตร น้ำก็ยังไม่ล้นตลิ่งข้ามถนนเข้าไปท่วมหมู่บ้าน แต่ในที่สุดก็ไม่รอด เพราะปีนี้น้ำขึ้นสูงสุดถึง 4.94 เมตร สรุปว่าน้ำเริ่มเข้าท่วมถนนภายในหมู่บ้านตั้งแต่ตอนบ่ายวันพุธที่ 28 กันยายน 2554 และหยุดท่วมในเช้าวันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม 2554

    ถึงน้ำจะท่วมถนนภายในหมู่บ้านสูงถึง 60 ซม. จนไม่สามารถใช้รถยนต์ส่วนตัวเข้า-ออกได้ตามปกติ แต่จากประสบการณ์ที่ต้องผจญกับน้ำท่วมในหมู่บ้านนี้มาหลายครั้ง ทำให้เกิดองค์ความรู้ที่จะป้องกันไม่ให้น้ำจากถนนภายในหมู่บ้าน ไหลเข้าไปท่วมในบริเวณบ้านอย่างได้ผล ขอนำมาบันทึกไว้เพื่อเป็นประโยชน์กับท่านอื่น ๆ ในวันนี้ครับ

    เตรียมการก่อน

    ประสบการณ์จากน้ำท่วมเมื่อครั้งที่แล้ว พบว่าถึงแม้จะกั้นกระสอบทรายไว้ที่ประตูรั้ว แต่ก็ไม่สามารถกั้นน้ำเข้าบ้านได้ เพราะ (1)บริเวณสนามหญ้าและลานอิฐบล็อกภายในบริเวณบ้านจะมีน้ำปุดทะลุพื้นดินขึ้นมา (2)กระสอบทรายไม่มีความมั่นคงแข็งแรงเพียงพอ เมื่อถูกคลื่นที่เกิดจากรถยนต์วิ่งฝ่าเข้ามาในถนนที่น้ำท่วม จะมีแรงดันมหาศาลทำให้กำแพงกระสอบทรายพัง และน้ำไหลเข้าบริเวณบ้านได้ในที่สุด

    จากประสบการณ์ดังกล่าวผมได้เตรียมการไว้หลังจากน้ำลดครั้งที่แล้ว ดังนี้

    (1) ปรับปรุงพื้นรอบ ๆ บริเวณบ้านใหม่ โดยทำพื้นให้เรียบและเทพื้นด้วยคอนกรีตซีแพ็คลงไปจนเต็มชิดรั้วทุกด้าน
    (2) ทำบานเหล็กสำหรับกั้นน้ำพร้อมอุปกรณ์ติดตั้ง โดยทำกรอบรางเหล็กสำหรับสวม ติดถาวรไว้ที่ประตูรั้วบ้านทั้งซ้ายและขวา ส่วนบานเหล็กและเสาค้ำยันถอดออกได้ เพื่อให้สามารถใช้ประตูบ้านได้ในยามปกติ
    (3) ซื้อเครื่องสูบน้ำชนิดแช่ขนาดเล็กที่เรียกว่าไดรโว่ ราคาประมาณ 1,500-2,000 บาท เครื่องสูบน้ำชนิดนี้จะขาดตลาดทันทีที่เกิดน้ำท่วม จึงต้องซื้อเก็บไว้ล่วงหน้า แล้วก็ไม่ลืมสายไฟพร้อมปลั๊กที่จะใช้ต่อพ่วงมาจากตัวบ้านจนถึงประตูรั้ว
    (4) ดินน้ำมันจำนวนหนึ่ง ใช้สำหรับอุดในช่องว่างที่ประกอบบานเหล็กกั้นน้ำเข้ากับประตูรั้วบ้าน

    น้ำมาแล้ว

    เสียงประกาศเตือนภัยจาก อบต. ตั้งแต่เช้า แจ้งว่าน้ำคงจะเข้าท่วมหมู่บ้านในช่วงบ่าย ขอให้ประชาชนเตรียมป้องกันทรัพย์สินของตนเอง ผมนำรถยนต์ออกจากบ้านไปจอดไว้ยังที่ปลอดภัยนอกหมู่บ้าน กลับเข้ามาก็เริ่มติดตั้งบานเหล็กเข้ากับประตูรั้วบ้าน ติดตั้งเสาค้ำยัน ใช้ดินน้ำมันอุดตามรอยต่อระหว่างบานกับกรอบรางเหล็ก นำเครื่องสูบน้ำไดรโว่มาวางไว้ใกล้ประตูรั้ว ในตำแหน่งที่คาดว่าน้ำจะซึมเข้ามาและท่วมขังอยู่ ต่อสายไฟพร้อมใช้งาน แล้วรอน้ำที่กำลังเริ่มไหลเข้ามาในหมู่บ้านอย่างใจจดใจจ่อ

    เวลาประมาณ 16.00 น. น้ำท่วมถนนภายในหมู่บ้านทุกถนนแล้ว มีน้ำซึมผ่านบานเหล็กที่ประตูรั้วเข้ามาในบ้านของผมปริมาณหนึ่ง แต่เมื่อเปิดเครื่องสูบน้ำก็สามารถควบคุมระดับน้ำไม่ให้สูงจนเกิดความเสียหายได้ เมื่อน้ำในถนนลดลง ผมไม่ต้องลำบากในการทำความสะอาดบริเวณบ้าน ที่มีดินโคลนตกค้างจากน้ำท่วมขัง เหมือนน้ำท่วมเมื่อครั้งก่อนอีกแล้ว

    ภาพบรรยากาศ
    ติดตั้งบานเหล็กเข้ากับเสาประตูรั้วบ้าน พร้อมติดตั้งเสาค้ำยัน
    [​IMG]

    เข้า-ออก จากบ้านต้องใช้เก้าอี้บันไดตัวนี้ สังเกตระดับน้ำภายนอกบ้านเริ่มสูงมากแล้ว
    [​IMG]

    ขณะที่ถนนด้านนอกระดับน้ำสูงถึง 60 ซม. แต่ภายในบ้านมีน้ำรั่วซึมเข้ามาเพียงเท่านี้ และเมื่อเปิดเครื่องสูบน้ำ น้ำก็จะแห้งภายใน 5 นาที
    [​IMG]

    ลุยน้ำออกไปถ่ายจากนอกบ้านเข้ามา สภาพประตูกั้นน้ำจะมีลักษณะนี้
    [​IMG]

    บ้านข้าง ๆ ก็ติดตั้งบานประตูกั้นน้ำเช่นเดียวกัน
    [​IMG]

    อีกภาพหนึ่ง
    [​IMG]

    หวังว่าบันทึกนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับท่านที่มีบ้านในหมู่บ้านจัดสรร ที่น้ำเคยท่วมแล้ว จะได้เป็นแนวทางในการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับบ้านแสนรักในครั้งต่อไป ได้บ้างตามสมควรครับ.

    ขอบคุณคับที่มีประโชนย์มาก ที่เวปพันธ์ทิพย์
     
  4. arto2

    arto2 New Member Member

    73
    2
    0
    กำลังหาที่ซื้อถุงใส่รถอยู่ พอดี แต่เห็นอันนี้แล้วไม่ต้องแระมีอยู่ที่บ้าน ขอบคุณคร๊าบ ....
     
  5. puky

    puky New Member Member

    464
    28
    0
    ขอบคุณ ประสบการณ์-วิธีการดีๆ มาแบ่งปัน
     
  6. Brian O'conner >.<

    Brian O'conner >.< New Member Member

    58
    0
    0
    ขอบคุณครับ ชอบๆ
     
  7. seila4club

    seila4club Active Member Member

    997
    47
    28
    [​IMG]

    หน้าฝนปี 54 ที่หลายพื้นที่กำลังน้ำท่วมอยู่ ชาวไทยในหลายพื้นที่ กำลังเดือดร้อนจากภัยน้ำท่วม และเมื่อเกิดภัยธรรมชาติเช่นนี้เราจะได้เห็นการระดมกำลังสร้างแนวกระสอบทราย ขึ้นมาเป็นคันน้ำ แต่หลายครั้งที่ปราการป้องน้ำท่วมที่สร้างขึ้นมานั้นพังทลายลงและทำให้กระแส น้ำไหลบ่าสร้างความเสียหายอย่างรวดเร็ว ซึ่งผู้อ่านที่ห่วงใยปัญหาของเพื่อนร่วมชาติขณะนี้ได้สอบถามมายังทีมข่าววิทยาศาตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ว่า มีวิธีวางกระสอบทรายที่ถูกต้องเพื่อป้องกันคันกั้นน้ำถล่มหรือไม่

    [​IMG]
    แนวกระสอบทรายซึ่ง วางก่อเป็นรูปสามเหลี่ยมปิรามิด ให้ฐานกว้างกว่าความสูง 3 เท่า และในขั้นสุดท้ายให้วางแผ่นพลาสติกทับโดยไม่ให้ตึงเกินไป แล้ววางกระสอบทรายทับปลายแผ่นพลาสติกทั้ง 2 ด้าน

    ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ได้สืบค้นและพบข้อมูลแนะนำวิธีการวางกระสอบทรายของมหาวิทยาลัยนอร์ธ ดาโกตา สเตท (North Dakota State University) สหรัฐฯ ซึ่งระบุไว้ว่าการวางกระสอบทรายที่ไม่ถูกวิธีจะทำให้คันกั้นน้ำพังทรายลงได้ โดยกระสอบทรายที่นำมาใช้นั้นควรเติมทรายให้มีปริมาตรครึ่งหนึ่งของขนาด กระสอบทรายและให้มีน้ำหนักอยู่ระหว่าง 15-18 กิโลกรัม เพื่อสะดวกต่อการขนย้าย

    ส่วนทำเลสำหรับวางกระสอบทรายควรเป็นทำเลที่ช่วยให้เราวางแนวกั้นได้ สั้นและเตี้ยที่สุด ซึ่งช่วยประหยัดการใช้กระสอบทรายได้ และต้องระวังสิ่งกีดขวางที่จะทำลายคันกั้นน้ำ อีกทั้งอย่าทำแนวกั้นพิงผนังสิ่งกอ่สร้าง เพราะจะเกิดแรงจากแนวกระสอบทรายกระทำต่อผนังสิ่งก่อสร้างได้ และควรทิ้งระยะห่างระหว่างคั้นกั้นน้ำกับสิ่งก่อสร้างประมาณ 2.5 เมตร เพื่อให้เราสังเกตเห็นการรั่วซึมของคันกั้นน้ำ และยังเป็นพื้นที่ให้เราวิดน้ำที่รั่วซึมออกมาหรือใช้เพื่อกิจกรรมอื่นๆ

    เนื่องจากการเสียดสีระหว่างกระสอบทรายช่วยป้องกันการลื่นไถลของคัน กั้นน้ำ ดังนั้น เราต้องทำให้เกิดการยึดกันอย่างดีระหว่างพื้นดินและคันกั้นน้ำ ระวังอย่าให้มีการไหลของน้ำใต้แนวคันกั้นน้ำ เคลื่อนย้ายสิ่งของต่างๆ ที่จะทำให้เกิดการลื่นไถล ถ้าคันกั้นน้ำสูงกว่า 1 เมตร ให้ขุดคูตรงแนววางกระสอบทราบเพื่อให้เกิดความมั่นคงระหว่างแนวกระสอบทรายและ พื้นดิน โดยคูดังกล่าวนั้นควรลึกประมาณ 10-15 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 45- 60 เซนติเมตร หรือเป็นความลึกประมาณความหนาของกระสอบทราย 1 กระสอบ และกว้างเท่ากระสอบทราย 2 กระสอบ

    ความสูงของแนวกระสอบทรายควรสูงกว่าระดับน้ำประมาณ 1 ฟุต โดยความกว้างของฐานคันกั้นน้ำนั้นควรมากกว่าความสูงของคันกั้นน้ำ 3 เท่า เช่น คันกั้นน้ำสูง 1 เมตร ฐานควรกว้าง 3 เมตร เป็นต้น ทั้งนี้ จากการคำนวณเมื่อใช้กระสอบทรายที่หนา 10 เซนติเมตร กว้าง 25 เซนติเมตร และยาว 35 เซนติเมตรนั้น ทุกความยาว 30 เซนติเมตรของแนวกั้นจะใช้กระสอบทราย 1 กระสอบ และทุกๆ ความสูงของแนวกั้น 30 เซนติเมตรต้องใช้กระสอบทราย 3 กระสอบ และทุกๆ ความกว้างของแนวกั้น 80 เซนติเมตรต้องใช้กระสอบทราย 3 กระสอบ

    หรือใช้สูตรต่อไปนี้เพื่อคำนวณหาจำนวนกระสอบทรายที่ต้องใช้ทุกๆ ความยาว 1 ฟุต (เมื่อวัดความสูงเป็นหน่วยฟุต)
    ดังนี้
    จำนวนกระสอบทราย = {(3 x ความสูงคันกั้นน้ำ) + (9 x ความสูงคันกั้นน้ำx ความสูงคันกั้นน้ำ)} / 2

    ตัวอย่างเช่น
    เมื่อใช้กระสอบทรายหนา 10 เซนติเมตร กว้าง 25 เซนติเมตร และยาว 35 เซนติเมตร สร้างคันกั้นน้ำสูง 3 ฟุต (ทุกๆ ความยาว 1 ฟุต ฐานกว้าง 3 ฟุต)
    ต้องใช้กระสอบทราย = {(3X3) + (9X3X3)} /2 = 45 กระสอบ
    หรือ ตัวอย่างที่ได้คำนวณแล้วทุกความยาวแนวคันกั้นน้ำ 100 ฟุต จะใช้จำนวนกระสอบทราย ดังนี้
    คันกั้นน้ำสูง 1 ฟุต ใช้กระสอบทราย 600 กระสอบ
    คันกั้นน้ำสูง 2 ฟุต ใช้กระสอบทราย 2,100 กระสอบ
    คันกั้นน้ำสูง 3 ฟุต ใช้กระสอบทราย 4,500 กระสอบ
    คันกั้นน้ำสูง 4 ฟุต ใช้กระสอบทราย 7,800 กระสอบ

    เมื่อทราบจำนวนกระสอบทรายที่ต้องใช้แล้วก็มาถึงการวางกระสอบทราย ทั้งนี้ ต้องให้คันกั้นน้ำขนานไปกับทิศทางการไหลของน้ำ และวิธีวางกระสอบทรายคือวางกระสอบทรายทับบริเวณที่ไม่ได้เติมทรายของ อีกกระสอบทรายให้สนิทเป็นแนวเช่นนี้ไปเรื่อยๆ และให้ปากกระสอบหันในทิศทางตรงข้ามกับกระแสน้ำ แล้วขึ้นไปเดินบนกระสอบทรายในชั้นที่วางเสร็จเพื่อให้แนวกั้นน้ำหนาแน่นและ มั่นคง ส่วนชั้นต่อมาให้วางกระสอบทับรอยต่อของกระสอบชั้นล่างและใหเชั้นล่างเหลือ พื้นที่โผล่ออกมาประมาณครึ่งกระสอบ

    [​IMG]
    เติมทรายลงกระสอบประมาณครึ่งกระสอบ

    หลังจากเรียงกระสอบสอบทรายจนได้เป็นคันกั้นน้ำแล้ว ให้หาแผ่นพลาสติกมาวางทับแนวกั้นน้ำแล้วใช้กระสอบทรายวางทับที่ปลาย แผ่นพลาสติกทั้งสองด้าน และอย่าให้แผ่นพลาสติกตึงเกินไป เพราะแรงกระแทกของน้ำจะทำลายแนวกั้นได้ นอกจากนี้ยังต้องระวังไม่ให้พลาสติกเป็นรูหรือถูกเจาะจากของมีคมด้วย

    [​IMG]
    วางกระสอบทรายซ้อนทับแบบสับหว่าง และขุดตรงกลางฐานล่างให้ลึกประมาณความหนา 1 กระสอบ และกว้างประมาณ 2 กระสอบ เพื่อความมั่นคง

    [​IMG]
    วิธีวางกระสอบทรายให้ทับอีกกระสอบในส่วนที่ไม่ได้เติมทราย แล้วให้หันด้านปากกระสอบทรายไปในทิศตรงข้ามการไหลของกระแสน้ำ

    [​IMG]
    ลักษณะการวางกระสอบทรายฐานล่างให้วางสับหว่างกัน

    [​IMG]
    เปรียบเทียบสัดส่วนความสูงและความกว้างของฐานแนวคันกั้นน้ำ

    ขอบคุณข้อมูลดีๆจากทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์หวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนร่วม ชาติที่กำลังเดือดร้อนอยู่ในขณะนี้ และขอให้ทุกคนปลอดภัยจากภัยธรรมชาติในครั้งนี้
     
    แก้ไขล่าสุดโดยผู้ดูแล: 11 ตุลาคม 2011
  8. seila4club

    seila4club Active Member Member

    997
    47
    28
    การป้องกันน้ำท่วมบ้านเรือน

    การลดความเสียหายจากน้ำท่วมสามารถทำได้โดยให้น้ำอยู่ห่างจากโครงสร้าง ให้น้ำหมดไปจากโครงสร้าง และให้โครงสร้างอยู่ห่างจากน้ำ การป้องกันน้ำท่วมคือการใช้เทคนิคต่างๆเพื่อป้องกันอาคารบ้านเรือนและโครง สร้างอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานต่างๆจากน้ำท่วม หรือเพื่อลดความเสียหายจากน้ำท่วม ความรุนแรงของน้ำท่วมขึ้นอยู่กับจำนวนของตัวแปรต่างๆดังต่อไปนี้ ความลึกของน้ำระยะเวลาของการท่วม ความเร็วในการไหลของน้ำ อัตราการสูงขึ้นของระดับน้ำในแม่น้ำ ความถี่ของการเกิดน้ำท่วม และระยะเวลาการตกของฝน การป้องกันน้ำท่วมที่ได้ผลจะช่วยลดการซ่อมแซมแก้ไขต่างๆของอาคารบ้านเรือน หลังน้ำท่วม


    การป้องกันน้ำท่วมสำหรับอาคารบ้านเรือน
    การพิจารณาจุดอ่อนของอาคารขึ้นอยู่กับลักษณะของอาคารชนิดต่างๆ รวมถึงความต้านทานต่อแรงดันน้ำ(แรงดันจากน้ำนิ่ง แรงยกของน้ำและแรงดันจากการไหลของน้ำ) และการเปลี่ยนแปลงของวัสดุเมื่อจมน้ำ(คุณภาพของปูน,พฤติกรรมของทรายและดิน เหนียวใต้ฐานราก)
    อาคารสาธารณะที่ใช้สำหรับเป็นที่พักต้องยกระดับพื้นให้สูงกว่าระดับน้ำท่วม สูงสุดซึ่งสามารถทำได้โดยก่อสร้างอาคารบนพื้นที่สูงหรือถมดินให้สูงขึ้น หรือสร้างอาคารโดยยกพื้นให้สูงขึ้น ในพื้นที่ที่น้ำไหลการกั้นกระสอบทรายก็อาจช่วยป้องกันตัวอาคารได้

    การป้องกันน้ำท่วมสำหรับโครงสร้างพื้นฐาน
    ความเสียหายของโครงสร้างพื้นฐานจากน้ำท่วมอาจมีสาเหตุจากแรงดันน้ำโดยตรงจากการกัดเซาะ หรือจากทั้งสองสาเหตุรวมกัน
    ความกว้างของช่องเปิดที่ไม่เพียงพอของแม่น้ำใต้สะพานจะทำให้ระดับน้ำเหนือ น้ำสูงขึ้น ท้องน้ำที่จุดเหนือน้ำและท้ายน้ำของสะพานจึงควรเสริมเครื่องป้องกันการกัด เซาะด้วยส่วนมากการป้องกันการกัดเซาะของท้องน้ำจะเสริมท้องน้ำด้วยอิฐ หิน หรือปลูกพืชคลุมดิน
    ความเสียหายของระบบประปาคือการที่น้ำเข้าไปในท่อ ทำให้น้ำมีตะกอนและสารพิษปนเปื้อน ปัญหานี้แก้ไขได้โดยการวางแนวท่อให้สูงกว่าระดับน้ำท่วม สำหรับระบบไฟฟ้า ระบบท่อต่างๆ และสายโทรศัพท์ก็สามารถแก้ไขได้ด้วยหลักการเดียวกัน

    [​IMG]

    วิธีป้องกันความเสียหายจากน้ำไหลตามถนน
    น้ำท่วมที่มาจากรางน้ำที่ถนนหรือท่อระบายน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถนนที่ลาดเอียง อาจจะไหลทะลุผ่านทรัพย์สินเข้าไปในทางถนนโล่งเข้าตัวอาคาร ทะลุผ่านที่ต่ำในท่อระบายน้ำหรือรางน้ำเหนือถนน น้ำอาจจะเปลี่ยนทิศทางอย่างเหมาะสมโดยกองถุงบรรจุทรายหรือแผ่นกระดาน หรือไม้หมอนทางรถไฟ อุปสรรคของน้ำนี้จะควบคุมทิศทางของน้ำให้ไกลจากทรัพย์สิน ดังนั้นป้องกันน้ำที่จะกัดกร่อนสวนและสนามหญ้า ถังน้ำไม่ลึก อุปสรรคก็จะป้องกันน้ำไม่ให้ไปถึงบ้าน ถุงทรายหรือ ฝายไม้แสดงในรูปที่ 1 ต้องถูกวางไว้ที่หัวมนและต้องมีความยาวเพียงพอที่จะเปลี่ยนทางน้ำให้ไหลไป ตามถนน โดยจะมีน้ำบางส่วนเท่านั้นที่ผ่านฝายเข้ามา แต่น้ำส่วนที่ไหลแรงจะถูกตีกลับไปที่ถนน

    [​IMG]

    วิธีการใช้ถุงทรายเพื่อเปลี่ยนทางน้ำ
    ระดับของถุงทราย ที่ถูกวางอย่างเหมาะสมจะทำให้การไหลของน้ำไหลอ้อมทรัพย์สินแทนที่จะไหลผ่านทรัพย์สิน

    [​IMG]

    วิธีใช้แผ่นไม้หรือใช้หมอนเพื่อกำหนดทิศทางการไหลของน้ำ
    แผ่นไม้หรือไม้หมอนเมื่อวางไว้ในตำแหน่งที่เหมาะสมสามารถเปลี่ยนทิศทางการ ไหลของน้ำได้ และให้ผลได้ดีกว่าการใช้ถุงทราย แต่ต้องใช้เวลาในการเตรียมและติดตั้งให้มากขึ้น แต่สามารถใช้คนเพียงแค่คนเดียวที่จะติดตั้งและถอนออกได้อย่างง่ายและรวดเร็ว

    [​IMG]

    วิธีป้องกันบ้านและสิ่งก่อสร้างโดยมีพื้นคอนกรีต

    ป้องกันน้ำท่วมได้โดยฉาบด้วยปูนหรือกำแพงอิฐที่ทาด้วยสีชนิดพิเศษ น้ำจำนวนมากที่อยู่ระหว่างฐานรากกับนอกกำแพง สามารถซึมผ่านพื้นเข้ามาภายในกำแพงได้


    วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันเหตุการณ์เช่นนี้
    1. อัดรอยรั่วภายนอกบ้านทั้งหมด โดยใช้วัตถุกันน้ำทั่วไป
    2. ทำความสะอาดกำแพงและรอยรั่ว รูรั่วอาจจะเกิดมาจากการก่อสร้างๆ แล้วสิ่งสกปรกอาจจะกลับเข้าไปติดในรูรั่ว
    3. วิธีป้องกันกำแพงบ้านแบบชั่วคราว สามารถทำได้โดยหาแผ่นพลาสติกกันน้ำ หรือวัตถุที่คล้ายๆ กันมาวางไว้ข้างกำแพง และปกคลุมขอบล่างของมันด้วยดิน และเอาแผ่นนี้ออกหลังจากที่น้ำหายท่วมแล้ว เพื่อป้องกันการผุพังและเชื้อราที่จะขึ้นบนไม้

    [​IMG][​IMG][​IMG]

    การป้องกันบ้านและอาคารที่มีพื้นเป็นไม้โครงสร้าง

    น้ำสามารถไหลซึมและขังนองในช่องว่างหรือใต้ถุนผ่านรอยแตกของฐานราก รูรั่วของท่อช่องระบายอากาศและหน้าต่าง นอกจากนั้นน้ำยังสามารถซึมผ่านระหว่างผนังบ้านและฐานรากอีกด้วย เมื่อไหร่ก็ตามที่ช่องว่างหรือห้องใต้ถุนเต็มไปด้วยน้ำ น้ำจะเพิ่มระดับและไหลเข้าสู่สิ่งก่อสร้างผ่านพื้นและรอยต่อของผนังจน กระทั่งล้นและมีระดับเดียวกันกับน้ำภายนอก

    ขั้นตอนการปฏิบัติ
    1. อุดช่องระบายอากาศและหน้าต่างด้วย แผงกั้นน้ำ ช่องระบายอากาศนั้นต้องสร้างให้ได้ตามมาตรฐานงานก่อสร้าง เพื่อป้องกันโรคราน้ำค้างและการผุเปื่อย ดังนั้น แผงกั้นน้ำ ทุกชิ้นต้องสามารถถอดย้ายออกได้ หลังจากอันตรายจากน้ำท่วมได้พ้นผ่านไปแล้ว
    2. อุดรอยแตกร้าวของฐานรากและผนัง ด้วยคอนกรีตหรือวัตถุอื่นๆ ที่สามารถใช้อุดรอยแตกได้
    3. อุดรอยรั่วเล็กๆ รอบๆ ท่อด้วยคอนกรีต หรือสารประกอบที่ใช้อุดรูรั่วในเรือ กาวซิลิโคน
    4. อุดรอยต่อระหว่างผนังกับฐานรากด้วยสารประกอบที่ใช้อุดรูรั่ว

    [​IMG][​IMG]

    การทำแผงกั้นน้ำ เพื่อใช้อุดฐานราก ช่องระบายและหน้าต่าง

    1. ใช้ไม้อัดขนาด ?” สำหรับทำ แผงกั้นน้ำ คัดไม้อัดให้เหลื่อมกับหน้าต่าง
    2. ติดแถบสักหลาด หรือยาง ด้วยกาวกันน้ำ ให้เหลื่อมกับผิวของ แผงกั้นน้ำ ซึ่งจะทำหน้าที่คล้ายปะเก็นอุดรูรั่ว
    3. ยึด แผงกั้นน้ำ ให้เข้าที่อย่างแน่นหนาด้วยตะปู ตะปูควงหรือสลักเกลียว
    4. ยึด แผงกั้นน้ำ เข้ากับกรอบไม้ด้วยตะปู

    [​IMG]

    วิธีการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันน้ำเข้าทางประตู
    วิธีที่ 1 : ใช้ดินน้ำมัน ดินปั้น ดินเหนียวตามธรรมชาติหรือวัสดุอื่นๆ ที่สามารถอุดรอยแตกและรอยต่อรอบๆ ประตู ธรณีประตู และกรอบประตู วัสดุดังกล่าข้างต้นนั้นสามารถขูดออกได้อย่างสะดวก เมื่อน้ำท่วมได้บรรเทาลง
    วิธีที่ 2 : ใช้แผ่นพลาสติกหรือกระดาษกันน้ำที่ใช้ในงานก่อสร้าง

    ข้อควรจำ
    - ทั้งวิธีที 1 และ 2 ข้างต้นนั้นมีข้อควรระวังคือ จะต้องทำการล็อคประตูจากด้านในเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการเปิดประตูและยัง ช่วยป้องกันการแตกของสารกันน้ำที่ใช้อุด
    - แม้ว่าวัสดุที่กล่าวมาเช่น ดินน้ำมัน และดินปั้นจะใช้อุดรอยแตกรอบประตูและกรอบประตูได้ก็จริง แต่ก็มีอายุการใช้งานเพียงระยะเวลาสั้น

    [​IMG]

    วิธีการใช้ แผงกั้นน้ำ เพื่อป้องกันน้ำเข้าทางประตู
    สามารถป้องกันน้ำที่จะไหลเข้าสู่ประตูทางเข้าได้ด้วยการติดตั้ง แผงกั้นน้ำ

    [​IMG]

    การเตรียมพร้อมติดตั้งแผงกั้นน้ำ เข้ากับประตูทางเข้า-ออก
    ในการติดตั้ง แผงกั้นน้ำ เข้ากับประตูทางเข้า-ออกนั้น ก็คล้ายคลึงกับการติดตั้งหน้าต่าง หรือช่องระบายอากาศ ในกรณีพิเศษจะต้องใช้วัสดุทำเป็นประเก็นรอบๆ ขอบด้านล่างของแผ่นกระดาน เพื่อกันน้ำได้ดียิ่งขึ้น

    ขั้นตอนการปฏิบัติ
    1. ใช้แผ่นกระดานหรือไม้อัดในการทำ แผงกั้นน้ำ ดังแสดงในหน้าตรงข้าม
    2. ตัดแถบยางหรือสักหลาดให้เหลี่ยมกับผิวของไม้กระดานให้กว้างประมาณ 8 เซนติเมตร เพื่อทำเป็นประเก็นแล้วยึดติดกับด้านล่างของไม้กระดานด้วยกาวกันน้ำ
    3. อุดด้านล่างของธรณีประตู รอยแตก และรอยต่อ กรอบประตู โดยปกติแล้ว แผงกั้นน้ำ จะไม่แนบสนิทกับประตูเลยทีเดียว ใช้สารอุดรอยต่อที่คุณภาพสูงจะทำให้มีระยะเวลาการใช้งานนานหลายปี ก็จะทำให้ไม่ต้องซ่อมแซมหรือซ่อมแซมเพียงเล็กๆ น้อยๆ
    4. หากจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายฉากประตู ก็ใช้สลักเกลียวหรือตะปูควงพร้อมด้วยแหวนรองสลักเกลียวยึดติดเข้ากับเสาด้าน ข้างประตูทั้งสองข้าง

    [​IMG][​IMG]

    การเตรียมการกันน้ำสำหรับประตูโรงเก็บรถ
    1. ใช้ไม้อัดที่มีความหนาที่เหมาะสมประมาณ 25 มม. สำหรับใช้อุดประตูตัดด้านล่างของ แผงกั้นน้ำ ให้พอดีกับผิวของถนนเพื่อป้องกันน้ำด้านล่าง
    2. สำหรับประตูบานพับ ใช้ แผงกั้นน้ำ แยกกันอุดด้านข้าง และตรงกลางของประตู โดยติดในแนวดิ่งให้สูงกว่า แผงกั้นน้ำ ที่อุดอยู่ด้านล่าง
    3. อุดรอบๆ บานพับด้วยดินน้ำมันหรือกาวจนมั่นใจว่าไม่มีการรั่วซึมอย่างแน่นอน

    [​IMG][​IMG]

    การควบคุมการชะล้างพังทลายของเนินดิน

    1. นำน้ำออกจากดิน

    น้ำไหลตามธรรมชาติ
    - ขุดคูน้ำเล็กๆ ให้รอบขอบบนของพื้นที่ ควรขุดขณะดินมีความชื้นสูงจะทำให้ขุดได้ง่าย โดยให้มีความเอียงเล็กน้อยเพื่อให้น้ำสามารถไหลได้ช้าๆ และขุดให้ปลายของคูน้ำ เชื่อมต่อกับทางระบายน้ำ

    น้ำจากน้ำฝน
    - ขุดคูน้ำเล็กๆ ในส่วนบนเนินดินนั้นไม่ควรขุดให้น้ำไหลมารวมกันทางเดียว ซึ่งจะทำ ให้ดินอ่อนแอและง่ายต่อการชะล้างพังทลาย เราสามารถเพิ่มความมั่นคงของดินได้คือ ใช้แผ่นพลาสติกราคาถูก ปูบนดินนั้น แผ่นพลาสติกจะทำหน้าที่คล้ายกรวด ทำให้น้ำ ส่วนใหญ่ไม่สามารถไหลลงสู่ดินนั้นได้ หรืออาจจะปลูกต้นไม้ทำเป็นรั่วก็ได้เพียงแค่ ตัดพลาสติกให้พอดีกับขนาดของหลุมต้นไม้ ก็จะเป็นการช่วยสร้างความมั่นคงแก่ดิน

    2. ทำให้น้ำไหลช้าลง
    เมื่อดินเกิดการชะล้าง เราสามารถควบคุมได้โดยการใช้กรวดหรือไม้แผ่นเล็กๆ มาทำหน้าที่คล้ายเขื่อนทำได้ง่ายๆ โดยการโรยกรวด หรือวางแผ่นไม้ข้ามส่วนที่เป็นลำธารเล็กๆ ซึ่งกรวดและแผ่นไม้จะทำหน้าที่เหมือนเขื่อนกันน้ำๆไว้ หากต้องการเพิ่มความมั่นคงยิ่งขึ้น ก็ควรฝังกรวดหรือแผ่นไม้ให้ลึกๆ บนเนินที่มีความชันมากๆ แนะนำให้สร้างคูน้ำเป็นระยะห่างเป็นช่วงๆ และควรดูระดับความสูงของพื้นที่และสามารถปล่อยน้ำให้ไหลเข้าสู่ทางระบายน้ำ

    [​IMG]

    3. เพิ่มความแข็งแรงของดินเพื่อป้องกันการพังทลาย
    ฟางหรือเศษไม้ก็ส่งผลต่อความมั่นคงในดินได้ และยังมีส่วนช่วยเพิ่มสารอินทรีย์ในดิน ใช้เศษไม้ปกคลุมดินด้วยความหนาประมาณ 3 เซนติเมตรหรือใช้ฟางปกคลุมดินด้วยความหนาประมาณ 30 เซนติเมตร จะช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินอีกด้วย คือ เพิ่มก๊าซไนไตรเจน

    4. ปลูกพืชคลุมดิน
    วิธีนี้เกี่ยวข้องกับวิธีการข้างต้น ควรปลูกพืชก่อนฤดูแล้ง หญ้าที่ทนแล้งหรือปลูกพืชทนแล้งชนิดอื่นปกคลุม


    ขอบคุณที่มา:หน่วยวิจัยภัยพิบัติทางธรรมชาติ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
     
  9. seila4club

    seila4club Active Member Member

    997
    47
    28
    ช่วงนี้ทางบ้านเราเกิดน้ำท่วมเกือบทั้งประเทศ และน่าเห็นใจกับพ่อแม่พี่น้องทุกท่านเลย ยังไงก็เป็นกำลังใจให้ทุกๆท่านผ่านอุปสรรคไปให้ได้นะครับ วันนี้ทางผมจะแนะนำ อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม Floodstop เป็นระบบการป้องกันน้ำท่วม โดยใช้การประกอบชุดอุปกรณ์แต่ละ unit เข้าด้วยกัน แต่ละ unit นั้นมีช่องว่างด้านในเพื่อให้น้ำไหลเข้าไปได้และทำให้เกิดแรงดันที่สมดุลย์ ระหว่างภายนอกและภายใน unit ทั้งยังมีตัวเชื่อมของ unit เข้าด้วยกันที่มีแป้นถ่วงน้ำหนักอยู่ เป็นการออกแบบที่ชาญฉลาด ถ้าพูดถึงเรื่องความมีประสิทธิ,อายุการใช้งาน,น้ำหนักเบา,ราคาที่ถูกกว่า เพราะเราลงทุนแค่ครั้งเดียว,การปรับเปลี่ยนการใช้งาน ที่มากกว่าถุงทราย แต่ข้อเสียอย่างนึงที่เรามองเห็นคือการที่ใช้ได้เฉพาะในพื้นราบ ดังนั้นจึงเหมาะแก่การใช้บนพื้นถนนหรือบริเวณหน้าบ้าน อย่างไรก็ดี Floodstop อาจเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการป้องกันน้ำท่วมสำหรับคนไทยในอนาคตก็เป็นได้

    [​IMG]

    [video=youtube;Ju0tFcyySBc]http://www.youtube.com/watch?v=Ju0tFcyySBc&feature=player_embedded#![/video]
     
  10. TT_GOVERNMENT

    TT_GOVERNMENT New Member Member

    809
    27
    0
    ผ้าคลุมรถต้องเช็คให้แน่ใจว่ากันน้ำ 100 % นะครับ

    ไม่งั้นน้ำซึมแย่เลย
     
  11. Menthol

    Menthol Member VIP

    80
    2
    8
    1. ซื้อยางรถสิบล้อมา 3 เส้น
    2. นำยางรถที่ยังไม่ได้สูบ สอดไว้ใต้ท้องรถ
    3. สูบลมเข้าไปทั้ง 3 ล้อ ก่อนสูบควรผูกเชือกตำแหน่งต่างๆ เพื่อยึดรถให้อยู่กับล้อ
    4. ผูกเชือกล่ามรถไว้กับเสาบ้าน หรือหลักที่แน่นหนา ป้องกันรถลอยไปตามน้ำ
    5. รถจะปลอดภัยในช่วงน้ำท่วม และสามารถใช้เป็นที่พักชั่วคราวได้

    credit จาก pantip :)
     
  12. Ton@CityMania

    Ton@CityMania New Member Moderator VIP

    1,341
    180
    0
  13. seila4club

    seila4club Active Member Member

    997
    47
    28
  14. seila4club

    seila4club Active Member Member

    997
    47
    28
    [​IMG]

    สำรวจความคิดเห็น หลากนักวิชาการน้ำ..ปราโมทย์ ไม้กลัด ส่งสัยคนกทม'ตื่นกันทำไม'มั่นใจเจ้าพระยาไม่ทะลัก"รอยล"มั่นใจเมืองหลวงไม่วิกฤติ

    สถานการณ์น้ำท่วมในเขตเมืองหลายพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็น อยุธยา นครสวรรค์ สร้างความตื่นตระหนกให้ชาวกรุงเทพมหานคร ที่หลายคนอยู่ในอาการ "จมข่าวน้ำท่วม" ความเครียดและตื่นตระหนกกระจายทั่วกรุงเทพมหานครอย่างรวดเร็ว

    "ผมไม่รู้ว่า จะตื่นกันไปทำไม" เสียงของ นายปราโมทย์ ไม้กลัด อดีตอธิบดีกรมชลประทาน ที่วันนี้แม้จะอยู่ในวัยเกษียณอายุ แต่ก็นั่งมอนิเตอร์ตรวจสอบปริมาณน้ำ พร้อมทั้งโทรศัพท์ ประสานแนะนำเจ้าหน้าที่กรมชลประทานในระดับปฏิบัติในฐานะผู้มีประสบการณ์

    เขาอธิบายว่า จากการตรวจสอบสถานการณ์น้ำ ปิง วัง ยม และน่าน อยู่ในระดับทรงตัว รวมไปถึงการปล่อยน้ำของเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ที่ลดปริมาณการปล่อยน้ำ ทำให้ ระดับน้ำที่ จ.นครสวรรค์ ปัจจุบัน อยู่ที่ระดับ 4,668 ลบ.ม. และในช่วง 1-2 วันนี้ระดับน้ำจะเพิ่มขึ้นมานิดหน่อยแต่ไม่มากนัก เพราะน้ำจากภาคเหนือไม่ไหลมาเพิ่มจึงไม่น่าเป็นห่วงมากนัก
    หลังจากนั้นเมื่อเข้ามาตรวจสอบ ระดับน้ำที่แม่น้ำเจ้าพระยา อยู่ที่ระดับ 3,660-3,500 ล้าน ลบ.ม.ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่ทรงตัว ปริมาณฝนภาคเหนือ และบริเวณเจ้าพระยามีฝนตกบ้างแต่ไม่มากนัก จึงเชื่อได้ว่า สถานการณ์ปัญหาน้ำท่วม มีแนวโน้มที่ดีขึ้นไปเรื่อยๆ

    "ผมดูจากทุกปัจจัยแล้ว ทั้งน้ำเหนือ ซึ่งอยู่ในระดับที่ไม่น่าเป็นห่วงมากนัก ปริมาณฝนก็ไม่มากเช่นกัน เพราะฉะนั้นวิเคราะห์จากทุกปัจจัยมีแนวโน้มดีขึ้น เพราะฉะนั้นสถานการณ์ที่เหลือ จึงเป็นเรื่องที่ต้องประคับประคองและเร่งระบายน้ำลงสู่ทะเล"

    ส่วนสถานการณ์ที่ กทม. นายปราโมทย์บอกว่า ระดับน้ำในพื้นที่ กทม. อาจจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมาเล็กน้อย และลักษณะพฤติกรรมน้ำไม่ตาย คือมีน้ำขึ้นน้ำลงปกติ แสดงว่าการระบายยังสามารถทำได้ จึงไม่น่าห่วงอะไร พื้นที่ กทม.รอบนอก ฝั่งตะวันออกอาจจะได้รับผลกระทบจากการระบายน้ำลงสู่อ่าวไทยบ้าง แต่แตกต่างจาก จ.อยุธยา หรือลพบุรี

    "น้ำที่ท่วม กทม.ชั้นนอก จะไม่ท่วมแบบพรวดพราด ต่างจากอยุธยา ลพบุรี เพราะแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วง กทม.มีลักษณะแตกต่างมีพื้นที่ราบที่เป็นลานกว้างให้น้ำแพร่กระจายเข้าไปได้"

    อย่างไรก็ตาม เขาเชื่อว่า แม้จะมีน้ำเออท่วม กทม.ชั้นนอกบ้างเช่น เขต หนองจอก มีนบุรี รังสิต ปทุมธานี หรือในพื้นที่บางกรวย ปากเกร็ด แต่ก็ไม่ท่วมขังในระยะเวลานาน เพราะ กทม.ได้ออกแบบระบบป้องกันน้ำท่วมมาและการระบายเอาไว้ดีพอสมควร

    ส่วนพื้นที่ กทม.ชั้นใน นายปราโมทย์ ค่อนข้างมั่นใจว่า ไม่น่าจะมีปัญหาน้ำท่วมทะลักจากแม่น้ำเจ้าพระยาแน่นอน เพราะว่าน้ำเจ้าพระยาจะไม่ทะลักเข้า กทม.ชั้นใน ที่มีคันกันน้ำที่สร้างมานานและมีความแข็งแรง รวมไปถึงถนนต่างๆ ที่ออกแบบเพื่อป้องกันน้ำท่วม ดังนั้น กทม.ชั้นใน ไม่ว่าจะเป็น สุขุมวิท ลาดพร้าว บางกะปิ หากเกิดปัญหาน้ำท่วมจะมาจากน้ำท่วมขังจากฝนที่ระบายไม่ทันมากกว่า

    ความมั่นใจของ อดีตอธิบดีกรมชลประทานสอดคล้องกับความมั่นใจของ ณรงค์ จิรสรรพคุณากร ผอ.กองสารสนเทศระบายน้ำ สำนักการระบายน้ำ กทม. ซึ่งถือเป็นผู้ปฏิบัติงานโดยตรง

    เขาอธิบายว่า กทม. ตั้งศูนย์ควบคุมระบบป้องกันระบบน้ำท่วม ซึ่งติดตามสถานการณ์น้ำตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ และตรวจสอบเส้นทางน้ำที่จะเข้าสู่ กทม. รวมถึงประตูน้ำในทุกๆ ด้าน ซึ่งมีการพัฒนาและวางระบบป้องกันน้ำท่วม ซึ่งได้ทำมาเป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว
    ในงาน ป้องกันน้ำท่วม ได้แบ่ง กทม. เป็น 4 ส่วน 1.ฝั่งธนบุรี 2.กทม.ในคันกั้นน้ำ 3.กทม.นอกคันกั้นน้ำ ซึ่งหมายถึง เขตมีนบุรี หนองจอก คลองสามวา และลาดกระบัง และ 4.เขตติดแม่น้ำเจ้าพระยา

    ส่วนของฝั่งธนบุรีนั้น จะต้องรับน้ำจาก จ.นนทบุรี และนครปฐม ได้มีการวางระบบระบายโดยใช้คลองทวีวัฒนา และคลองมหาสวัสดิ์ เพื่อผันน้ำออกแม่น้ำท่าจีน โดยจะมีประตูน้ำอยู่บริเวณคลองมหาสวัสดิ์ที่จะรับน้ำจาก จ.นนทบุรี โดยน้ำจะถูกระบายตามคลองย่อยมาเก็บไว้ที่แก้มลิง "คลองสนามชัย" ซึ่งมีพื้นที่ 76.42 ตารางกิโลเมตร

    ขณะที่แนวรับอยู่ที่ คลองรังสิต ซึ่งจะรับมาจากคลองย่อยต่างๆ ซึ่งจะมีแนวประตูกั้นน้ำอยู่ตามแต่ละคลอง จนถึงบริเวณคลองหก และยังมีการกั้นประตูน้ำส่วนหนึ่งอยู่ที่ หลักหก ปทุมธานี ซึ่งสามารถรับน้ำและระบายออกในทาง กทม.ตะวันออก และ มีส่วนหนึ่งจะผันลงอุโมงค์ยักษ์ระบายน้ำของ กทม. และตามคลองย่อย ก็จะมีสถานีสูบน้ำเร่งระบายน้ำออกตามแนวแม่น้ำเจ้าพระยา

    ส่วน กทม. ฝั่งตะวันออก ณรงค์ บอกว่า ด้านบนซึ่งจะรับน้ำตามคลองต่างๆ ที่มาจาก จ.ปทุมธานี ก็จะมีประตูระบายน้ำ ส่วนที่อยู่นอกแนวคันกั้นน้ำนั้นก็ได้วางระบบระบายน้ำไว้ โดยส่วนหนึ่งจะผันออกเพื่อลงแม่น้ำบางปะกง โดยใช้คลองแสนแสบ คลองนครเนื่องเขต และคลองประเวศบุรีรมย์ ขณะที่อีกส่วนจะผันลงอ่าวไทย ผ่านคลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต คลองจระเข้ใหญ่ คลองบางโฉลง คลองหนองงูเห่า และคลองลาดกระบัง ซึ่งแต่ละคลองก็จะมีสถานีสูบน้ำเพื่อเร่งระบายน้ำ

    ณรงค์ยืนยันว่าแม้เป็นช่วงน้ำหนุนสูง ก็ไม่น่ามีปัญหา เพราะขณะนี้ สถานการณ์น้ำเหนือนั้น ค่อนข้างทรงตัว ไม่เพิ่มมากขึ้น กทม.น่าจะรับมือไหว
    ความกังวลของ กทม. นั้นยังมีอยู่ สองส่วนที่เห็นได้ชัดคือ จะมีเหตุการณ์ที่คาดการณ์ลำบากอย่างมีฝนตกเพิ่ม และมีการพังประตูน้ำ ซึ่งจะทำให้มีปัญหากับการจัดการน้ำ

    ขณะที่ ดร.รอยล จิตรดอน ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (สสนก.) กล่าวว่า จากการประเมินสถานการณ์น้ำที่จะไหลเข้าท่วมพื้นที่ กทม.นั้น เชื่อว่าจะไม่วิกฤติมากนัก ซึ่งแม้จะมีน้ำไหลผ่านเข้ามาในเขตพื้นที่เสี่ยงของ กทม.ได้ก็ตาม แต่เนื่องจากพื้นที่ไม่ได้ใหญ่มากนัก กทม. ก็สามารถระดมเครื่องสูบน้ำระบายน้ำที่เข้าท่วมออกไปตามจุดผันคลองระบายน้ำต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งหากวิกฤติจริงอย่างน้อยระดับการท่วมขัง ก็อาจจะสูงสุดไม่เกินหนึ่งสัปดาห์เท่านั้น

    ระดับน้ำคลอง กทม.ปกติ

    lส่วนสถานการณ์ระดับน้ำในคลองหลักของ กทม. ล่าสุดวันที่ 12 ต.ค.พบว่าคลองต่างๆ ยังมีระดับปกติ ส่วนสถานการณ์น้ำในคลองสายหลักในพื้นที่กรุงเทพมหานคร พบว่ายังอยู่ในภาวะปกติ โดยที่คลองบางเขน ถ.กรุงเทพ-นนท์ ระดับน้ำอยู่ที่ 0.39 เมตร คลองบางเขน ถ.ประชาชื่น ระดับน้ำอยู่ที่ 0.10 เมตร คลองบางเขน ถ.วิภาวดี (ขาเข้า) ระดับน้ำอยู่ที่ 0.73 เมตร คลองบางพรม คลองชักพระ ระดับน้ำอยู่ที่ 0.65 เมตร คลองบางพรม คลองฉิมพลี ระดับอยู่ที่ 0.75 เมตร คลองบางพรม ถนนกาญจนภิเษก ระดับน้ำอยู่ที่ 0.85 เมตร คลองบางพรม ถนนพุทธมณฑลสาย 3 ระดับน้ำอยู่ที่ 0.94 เมตร คลองบางซื่อ ถ.พระรามที่ 5 ระดับน้ำอยู่ที่ 0.92 เมตร


    คลองบางซื่อ ถ.พหลโยธิน ระดับน้ำอยู่ที่ 0.13 เมตร คลองบางซื่อ ถ.วิภาวดี (ขาเข้า) ระดับน้ำอยู่ที่ 0.03 เมตร คลองบางซื่อ ถ.รัชดาภิเษก ระดับน้ำอยู่ที่ 0.12 เมตร คลองบางแวก ถนนพุทธมณทลสาย 1 (วัดไชยฉิมพลี) ระดับน้ำอยู่ที่ 0.71 เมตร คลองบางแวก คลองทวีวัฒนา (สถานีสูบน้ำคลองบางแวก) ระดับน้ำอยู่ที่ 0.96 เมตร คลองเปรมประชากร วัดเทวสุนทร ดอนเมือง ระดับน้ำ 0.30 เมตร และ 0.82 เมตร ตามลำดับ คลองลาดพร้าว 0.32 เมตร คลองมหาสวัสดิ์ ถนนพุทธมณฑลสาย 2 ระดับน้ำ 1.82 เมตร แม่น้ำเจ้าพระยา ปากคลองตลอด 1.83 เมตร คลองแสนแสบ เสรีไทย 24 ระดับน้ำ 0.39 เมตร
     
  15. seila4club

    seila4club Active Member Member

    997
    47
    28
    [​IMG]

    กรมชลฯ-กฟผ.ลดระบายน้ำจากเขื่อนภูมิพล-เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

    กรมชลประทานประสานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ลดการระบายน้ำจากเขื่อนภูมิพล จ.ตาก จากเมื่อวานที่ระบายน้ำ 93.62 ล้านลูกบาศก์เมตร เหลือ 84.05 ล้านลูกบาศก์เมตรในวันนี้ (13 ต.ค.) เพื่อบรรเทาและลดผลกระทบต่อพื้นที่น้ำท่วมด้านท้ายเขื่อน ในเขต จ.ตาก กำแพงเพชร และนครสวรรค์

    ด้านเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี ลดการระบายเหลือ 451 ลบ.ม./วินาที หรือคิดเป็นปริมาณน้ำ 39 ล้าน ลบ.ม./วัน เพื่อลดผลกระทบทางด้านท้ายเขื่อน เนื่องจากแนวโน้มปริมาณน้ำที่ไหลเข้าอ่างฯ มีแนวโน้มลดลง
     
  16. seila4club

    seila4club Active Member Member

    997
    47
    28
    [​IMG]

    เอาใจช่วยทุกคนที่ประสบภัยนะครับ...น้ำคือชีวิตครับ..ขอให้ทุกคนปลอดภัยและผ่านช่วงเลวร้ายนี้ไปให้ได้นะครับ( ขอขอบคุณ คุณพงศกร พัฒผล ผู้เชี่ยวชาญการเดินป่าและพจญภัยแห่งThailand Survivalครับ กับ1ไอเดียในการเอาชีวิตรอด จากการเสวนาเรื่อง"การออกแบบเพื่อเตรียมพร้อมรับมือและจัดการกับภัยพิบัติ" เมื่อวันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม 2554 โดยกลุ่มDesign for disasters และ หอศิลปกรุงเทพ)
     
  17. ติ๊ต่าง

    ติ๊ต่าง New Member Privilege

    801
    32
    0
    บ้านน้องสาว หลังฝนตก 20 นาที -*-


    ต้องย้ายมาจอดบ้านผมที่สูงกว่า
    แต่ผ่านไปอีก 15นาทีน้ำก็เกือบเข้าบ้านผมเหมือนกัน
     
  18. Show Aof

    Show Aof Well-Known Member Privilege

    2,092
    49
    48
    ไอเดียเจ้าของกระทู้ดูท่าไม่เหมาะกับตอนฝนตก 5555+ แต่เป็นห่วงคนที่น้ำท่วมจริง ๆ คนไม่เคยท่วมไม่เข้าใจความรู้สึกหรอก เป็นกำลังใจให้ครับ
     
  19. seila4club

    seila4club Active Member Member

    997
    47
    28
    เป็นกำลังใจให้ อย่ายอมแพ้ ต้องสู้ต่อไป บ้านผมยังไม่ท่วมเลย ใกล้เมื่อไรเข้ามาท่วมล่ะ รอดูต่อไปครับ

    ---------- เพิ่มกระทู้ เมื่อ 08:45:37 ---------- กระทู้ก่อนหน้านี้ เมื่อ 08:44:45 ----------

    5555 ช่วยกันมีน้ำใจบ้าง บอกเตือนเผื่อไว้น่ะครับ ไม่ทำให้ประชาชนมีเดือนร้อนไง
     
  20. seila4club

    seila4club Active Member Member

    997
    47
    28
    [​IMG]

    ใครอยากรู้เรื่องจริงที่ทำให้น้ำท่วมจนเป็นวิกฤติขนาดนี้บ้าง ลองดูภาพนี้ครับ พวกเราชาวกรุงเทพนี่แหล่ะเป็นตัวการที่สำคัญ จริงๆท่วมเฉลี่ยๆกันไปคงไม่มากและไม่นานขนาดนี้ กันกรุงเทพแล้วปล่อยให้ต่างจังหวัดท่วมหนักขนาดนี้ แล้วเอาของเข้าไปช่วย เอาทรายเข้าไปช่วย มันดูยังไงอยู่นะครับ ไม่รู้ถ้าปล่อยน้ำเข้ามาบ้างแบบทยอยมากรุงเทพมันจะได้รับความเสียหายขนาด3นิคมอุตรวมกันหรือเปล่า ไม่รู้ท่านผู้ว่ากับท่านนายกจะว่าไงครับ
     
  21. seila4club

    seila4club Active Member Member

    997
    47
    28
    ใครอยากรู้เรื่องจริงที่ทำให้น้ำท่วมจนเป็นวิกฤติขนาดนี้บ้าง ลองดูภาพนี้ครับ พวกเราชาวกรุงเทพนี่แหล่ะเป็นตัวการที่สำคัญ จริงๆท่วมเฉลี่ยๆกันไปคงไม่มากและไม่นานขนาดนี้ กันกรุงเทพแล้วปล่อยให้ต่างจังหวัดท่วมหนักขนาดนี้ แล้วเอาของเข้าไปช่วย เอาทรายเข้าไปช่วย มันดูยังไงอยู่นะครับ ไม่รู้ถ้าปล่อยน้ำเข้ามาบ้างแบบทยอยมากรุงเทพมันจะได้รับความเสียหายขนาด3นิคมอุตรวมกันหรือเปล่า ไม่รู้ท่านผู้ว่ากับท่านนายกจะว่าไงครับ

    [​IMG]
     
  22. Pierce

    Pierce New Member Lady Member

    41
    17
    0
    ยอดเยี่มเลยคะ
     
  23. Hayabusa

    Hayabusa New Member Member

    494
    37
    0
    ต้องระวังน้ำที่ขึ้นมาจากท่อระบายน้ำด้วยนะครับ บางคนกันรอบบ้านหมด ลืมกันท่อระบายน้ำในบ้านน้ำท่วมบ้านก็มี
     
  24. seila4club

    seila4club Active Member Member

    997
    47
    28
    [​IMG]


    ช่วงสุดสัปดาห์นี้ กทม.จะเผชิญภาวะท้าทายสูงสุดครั้งแรก

    ความท้าทายนั้นมาจากน้ำทะเลหนุนสูงถึง 1.11 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง (ม.รทก.) แต่จะมีมวลน้ำเหนือไหลมาสมทบด้วยปริมาณ 4,000 ลบ.ม.เศษต่อวินาที

    นั่นจะทำให้น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาต่ำกว่าแนวคันกั้นน้ำ ซึ่งสูงเฉลี่ย 2.5 ม. แค่ 10 ซม.

    ขณะที่กรมอุตุนิยมวิทยา คาดว่า ในช่วงวันหยุดนี้จะมีฝนตก 60-70% ของพื้นที่ ทำให้มีปริมาณน้ำต้องระบายออกมากขึ้น

    วันที่ 14 ต.ค.ที่ผ่านมา เป็นวันซ้อมใหญ่วันแรก เพราะเป็นวันแรกที่น้ำทะเลเริ่มหนุนสูง 1.09 ม.รทก. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดทำลายสถิติระดับน้ำขึ้นสูงสุดวัดที่ปากคลองตลาดอยู่ที่ 2.13 ม.รทก.

    ผลคือต่ำกว่าคันกั้นน้ำ 37 ซม.!

    ความท้าทายนั้นมาจากด้านกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่า ช่วงวันหยุดนี้จะมีฝนตกหนัก เฉพาะวันที่ 14 ต.ค. มีฝนตกหนัก ระบบระบายน้ำก็ส่อว่าจะมีปัญหาแล้ว เช่น คลองต่างๆ ที่ กทม.พร่องน้ำลงไว้รับสถานการณ์ โดยเฉพาะคลองด้านตะวันออก เช่น คลองแสนแสบ คลองประเวศ มีปัญหาเรื่องการระบายน้ำ ถนนบางสายมีน้ำท่วมขัง บางหมู่บ้านถูกน้ำท่วม

    ทางการคาดว่า ในวันที่ 15 ต.ค. น้ำทะเลจะหนุนสูงกว่าวันที่ 14 ต.ค. คือสูงที่ 1.11 ม.รทก. ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อ 27 ชุมชนใน 13 เขต กทม. ที่อยู่นอกคันกั้นน้ำ

    “ถ้าน้ำขึ้นถึง 2.13 ม. ถือว่าอยู่ในขั้นต้องเตรียมอพยพแล้ว แต่ถ้าเพิ่มสูงถึง 2.30 ม. ต้องอพยพทันที ซึ่งได้แจ้งให้ชุมชน 27 แห่งทราบแล้วว่า วันที่ 15-18 ต.ค.นี้ เป็นช่วงต้องระวังสูงสุด” ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. ระบุ

    ขณะที่ กทม.เฝ้าระวังด้านแม่น้ำเจ้าพระยา รัฐบาลระดมสรรพกำลังไปเสริมความแข็งแรงประตูน้ำและคันกั้นน้ำบริเวณหลักหก รังสิต ซึ่งเป็นจุดรับน้ำเหนือและน้ำหลากจากเหนือและอยุธยา

    เพื่อผันลงแม่น้ำเจ้าพระยาทางด้านตะวันออกและคลองรังสิตส่งไปยังฝั่งตะวันตก!

    วานนี้ ปริมาณน้ำที่หลากมาไม่อาจข้ามคันกั้นน้ำที่คลองรังสิต ซึ่งทางการขยายแนวสูงขึ้นเป็น 180 ซม.ได้ น้ำก็หลากเข้าท่วม ต.เชียงราก อ.สามโคก รวมทั้งด้านหลังนิคมอุตสาหกรรมนวนคร ทำให้น้ำท่วมที่ปทุมธานีสูงขึ้น

    น้ำที่ข้ามคันกั้นน้ำได้บ่าขยายวงเอ่อออกไปท่วมสถาบันเอไอที มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต ตลอดแนวทิศตะวันตกถนนพหลโยธินมาถึงคลองรังสิต รวมทั้งถนนพหลโยธินบางส่วนแล้ว

    อีกด้านขณะที่ยังไม่สามารถอุดประตูน้ำคลองบ้านพร้าว อ.สามโคก ได้ น้ำทะลักเข้าปทุมธานีอย่างต่อเนื่อง กทม.และปริมณฑลต้องลุ้นระทึก!

    วานนี้ยังเกิดความอลหม่านเป็นรอบที่ 2 เมื่อกรมป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนได้ออกประกาศให้ 17 เขตใน กทม. เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน แต่ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) แถลงโต้ว่า ทำให้สับสน

    ดูเหมือนว่าคนที่สับสนกว่าคือ เซอิยะ ซูเกกาวา ตัวแทนขององค์กรการค้าระหว่างประเทศญี่ปุ่น เพราะเขาให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเอพีตำหนิรัฐบาลไทยว่า ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำท่วมของทางการไทยล่าช้าไม่ทันต่อสถานการณ์และขาดความชัดเจน จนเป็นผลให้บรรดาบริษัทญี่ปุ่นไม่อาจเตรียมรับมือน้ำท่วมได้ทันท่วงที

    ทุกฝ่ายยังต้องลุ้นระทึกต่อไป!
     
  25. seila4club

    seila4club Active Member Member

    997
    47
    28
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]

    จักรยานสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก ไอเดียน่าสนยามน้ำท่วม

    ในช่วงสถานการณ์น้ำท่วมเช่นนี้ "เรือ" และ "เสื้อชูชีพ" ดูจะเป็นสิ่งของจำเป็นที่สุดของผู้ประสบภัย แต่อย่างที่รู้ ๆ ว่า ขณะนี้ ทั้ง "เรือ" และ "เสื้อชูชีพ" ล้วนขาดตลาดไปเกือบหมดแล้ว ชาวบ้านหลายคนจึงต้องนำ "ยางรถยนต์" มาอาศัยเป็น "เรือ" แทน ขณะที่หลาย ๆ คน ก็ช่วยกันประดิษฐ์ "เสื้อชูชีพ" จากเสื้อและขวดน้ำ เพื่อส่งไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยใช้ในยามฉุกเฉิน

    เห็นไอเดียเสื้อชูชีพจากขวดน้ำแล้ว ก็ทำให้เรานึกถึง "จักรยานลอยน้ำ" ไอเดียเจ๋ง ๆ ของคุณลุงหลี่เหว่ยกั๋ว คุณลุงชาวจีนวัยเกษียณคนหนึ่ง ที่เคยนำแกลลอนน้ำขนาดใหญ่มาผูกไว้กับรถจักรยาน ประดิษฐ์เป็น "จักรยานสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก" ตั้งแต่สองปีก่อน แถมยังใช้งานได้จริงเสียด้วย

    โดยครั้งนั้น คุณลุงหลี่ได้สร้างโครงเหล็กขึ้นมาที่ล้อจักรยานทั้ง 2 ล้อ ก่อนจะนำแกลลอนน้ำเปล่า ๆ ที่ปิดจุกให้สนิท จำนวน 8 ใบ มาผูกติดกับโครงเหล็กที่บริเวณใช้เป็นทุ่นลอยน้ำ พร้อมกับเปลี่ยนซี่เหล็กของล้อหลังให้กลายเป็นใบพัด เพื่อให้เกิดแรงขับเคลื่อนในน้ำ เมื่อจัดการประดิษฐ์ประดอยเสร็จสรรพแล้ว ก็ถึงคราวทดลองผลงานชิ้นโบว์แดงกันดู

    งานนี้ ก็ได้สาวหลีจิ่น ลูกสาวของคุณลุงมารับบทอาสาท้าเสี่ยงขี่รถจักรยานคันนี้บนทะเลสาบในสวนสาธารณะเน่ยซาหู ที่เมืองหวู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย ปรากฎว่า มันสามารถขี่บนน้ำได้จริง ๆ ซะด้วย แถมเมื่อยามที่ขึ้นจากน้ำ ก็ยังสามารถขี่เจ้าจักรยานสุดเจ๋งคันนี้บนพื้นดินกลับบ้านได้แบบสบาย ๆ อีกต่างหาก

    เห็นไอเดียเจ๋ง ๆ ของคุณลุงหลี่แล้ว ใครที่พอมีฝีมือหน่อย จะลองนำไปดัดแปลงดูกับจักรยานที่บ้าน เพื่อปรับมาใช้ในยามน้ำท่วมแบบนี้ก็ไม่เลวเลยนะ ว่าไหม?

    ขอบคุณที่เวปกระปุคอม
     
  26. JID

    JID New Member Member

    2
    0
    0
    ไอเดียแจ๋ว
     
  27. seila4club

    seila4club Active Member Member

    997
    47
    28
    [​IMG]

    แม้ว่าทุกภาคส่วน ทุกหน่วยงานจะช่วยกันเฝ้าระวังอย่างเต็มกำลัง แต่สถานการณ์น้ำท่วมในขณะนี้ไม่อาจคาดเดาได้ง่ายนัก ข่าวคันกั้นน้ำพัง พนังกั้นน้ำแตก มีรายงานต่อเนื่องรายวัน ดังนั้นแล้ว การเตรียมรับมือดูจะเป็นหนทางที่ดีที่สุดในพื้นที่เสี่ยงภัยที่น้ำยังมาไม่ถึง

    และวันนี้เรามีคำแนะนำรป้องกันน้ำท่วมสำหรับตัวอาคาร จาก สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ มาฝากกัน....

    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]

    ข้อคิดกันน้ำท่วม

    กำแพงกันน้ำ ถ้าใช้ถุงทราบควรใส่ปูนผงผสม 10% - 20% เพื่อให้ถุงทรายมีความแข็งแรงเพิ่ม
    กำแพงกันน้ำควรมีแนวที่สองเผื่อน้ำรั่วซึม สามารถวิดน้ำหรือสูบน้ำออก

    [​IMG]

    3. กำแพงกันน้ำเข้าบ้าน ไม่ต้องใช้ทรายถุงก็ได้ใช้บล็อกคอนกรีต หรือก้อนคอนกรีตเบาก็ได
    4. กรณีกันน้ำไม่สูงนัก เช่น 20-30 ตรม. อาจใช้แผ่นซิเมนต์บอร์ด เช่น เพล็กซี่บอร์ดหรือสมาร์ทบอร์ดหรือวีว่าบอร์ด ร่วมกับดินเหนียว ดินน้ำมัน

    " ขออนุญาติขอลงเวปโพสที่ช่วยแบ่งปั่น.... ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ "
     
  28. JID

    JID New Member Member

    2
    0
    0
    ไอเดียแจ๋ว
     
  29. bb_boy

    bb_boy New Member Member

    112
    1
    0
    ชอบไอเดียร์ที่เอายางรถสิบล้อไว้ใต้ท้องรถอ่ะแต่กลัวมันคว่ำ
     
  30. seila4club

    seila4club Active Member Member

    997
    47
    28
    [​IMG]
     
< Previous Thread | Next Thread >

แบ่งปันหน้านี้