ถามเรื่องแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิงครับ

การสนทนาใน 'EK Group' เริ่มโดย บริชาญ, 18 มกราคม 2009

< Previous Thread | Next Thread >
  1. บริชาญ

    บริชาญ New Member Member

    30
    2
    0
    ปกติแล้วถ้าเป็นเครื่องเดิม ( D16Y8 ) แรงดันน้ำมันเชื้อเพลิงอยู่ที่เท่าไหร่อะครับ ( psi ) เท่ากับเครื่อง B16,B18,B18r ถ้าไม้เท่ากันขอผู้รู้ช่วยบอกแรงดันของแต่ละตัวด้วยนะครับ แล้วตัว regulator มันช่วยเพิ่มแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิงจิงอะป่าวครับ ถ้าช่วยไม่ได้ต้องทำยังไงครับ ขอบคุณครับ..
     
  2. RTNET@EK

    RTNET@EK Active Member Member

    933
    122
    43
    ตอบเท่าที่ได้ก่อนนะครับ
    ปกติแรงดันเชื้อเพลิงจะเพิ่มขึ้นตามรอบเครื่องด้วยนะครับ ตามสภาพ vacuum ในท่อร่วม
    สังเกตจะมีสาย vacuum มาต่อที่หัว regulator เพื่อเป็นแรงดึงเปิดหรือหรี่ช่องทางเดินน้ำมัน
    ทำให้แรงดันเปลี่ยนแปลงตามสภาพโหลดหรือ รอบ
    standard น่าจะอยู่แถว 2.7-3 bar ที่รอบเดินเบา เวลาเร่งเครื่องก็ขยับขึ้นไปตามรอบ แบบ standard จะ
    ไม่สามารถปรับตั้งได้ ถ้าทำเครื่องแล้วต้องการจะปรับน้ำมันเพิ่มขึ้นด้วยสัดส่วนเดิมเอาแบบประหยัด
    หน่อยก็ทุบ regulator เอาให้แรงดันสูงขึ้นอีกหน่อย เช่น 2.7 ขยับมาเป็น 3 bar กล่องก็สั่งหัวฉีดเหมือน
    เดิม แต่ แรงดันมันสูงขึ้นมันก็ฉีดน้ำมันได้มากขึ้นครับ
    ถ้ามีงบหน่อยก็ซื้อแบบปรับได้มาใส่ที่นี้อยากได้เท่าไรก็ปรับได้เลยตามต้องการ ที่เห็นๆ ก็แถว
    3-4 bar ที่รอบเดินเบาครับ
     
  3. TeY_RMuTi

    TeY_RMuTi New Member Member

    1,955
    56
    0
    ความรู้ๆๆ
     
  4. GOLD GEAR 66

    GOLD GEAR 66 New Member Member

    449
    8
    0
    แล้วถ้าเป็น เบนซิน ละครับ มันน่าจะอยู่ประมาณเท่าไหร
     
  5. #joe.#

    #joe.# Member Member

    219
    21
    18
    ผมว่าน่ะครับถ้ารถไม่ได้ทำเครื่องมา (ทำฝา เพิ่มกำลังอัดใหม่ )หรือว่าไม่ได้เปลี่ยน ปั๊มติ๊กใหม่ให้มีแรงดันเพิ่มขึ้น ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยน น่ะครับ ตัวเดิมก็ควบคุมได้ปรกติอยู่แล้ว แต่มันไม่สวยเท่านั้นเอง แต่ตัวที่มันปรับค่าแรงดันได้นั้นเอาไว้สำหรับเครื่องยนต์ที่ได้ทำการปรับแต่งโมดิฟายด์มาแล้วเพื่อที่จะควบคุมแรงดันน้ำมันให้คงที่ได้มากที่สุด แล้วก็เหมาะสำหรับรถที่ทำกล่องไม่ได้แต่ได้ทำการโมดิฟายด์แล้วเครื่องยนต์ต้องการน้ำมันเพิ่มมากขึ้นก็จำเป็นต้องใช้ regulator ที่ปรับแรงดันได้ เพื่อที่จะให้แรงดันในรางหัวฉีดเพิ่มขึ้นหรือจ่ายน้ำมันเพิ่มขึ้นนั่นเองครับ แล้วก็รถที่ได้ทำการเปลี่ยนปั๊มติ๊กที่มีแรงดันสูงขึ้น regulator ตัวเดิมนั้นสามารถควบคุมได้แต่อาจจะผิดพลาดก็ได้เนื่องจากแรงดันสูงขึ้น ก็เลยต้องใช้ regulator ที่ปรับได้มาทำการปรับให้ได้ค่าไกล้เคียงค่าเดิมครับ

    ปล.ถ้าข้อมูลผิดก็ขออภัยด้วยน่ะครับ
     
  6. MOO - VTEC

    MOO - VTEC New Member Member

    2,228
    74
    0
    ตามนั้นครับ
    อยากประหยัดก็ตอกหัวเอาผมก็ใช้วิธีนี้เหมือนกัน
     
  7. บริชาญ

    บริชาญ New Member Member

    30
    2
    0
    แล้วถ้าป๊ำติ๊กเดิมๆ สามารถสร้างปริมาณและแรงดันน้ำมันเพียงพอกับเครื่อง B18CR หรือป่าวครับ ถ้าไม่พอต้องทำไงครับ
     
  8. RTNET@EK

    RTNET@EK Active Member Member

    933
    122
    43
    ติ๊กเดิมก็พอครับ สำหรับ 18CR แต่ถ้าไม่สบายใจอยากทดสอบก็ติดเกจ fuel press หรือให้ช่างเอาเกจวัด
    แรงดันต่อพ่วงไว้แถวกรองเบนซิน แล้วออกไปซัดลากสัก 8-9 rpm ถ้า pressure ขึ้นไม่มีตก ก็แสดงว่าพอครับ
    แต่ถ้าอยากเปลี่ยนก็หาพวกของ 2j มาเปลี่ยนก็ได้ครับตัวเล็กๆ ใกล้เคียงกัน เอาปลั๊กมาด้วยนะครับ
     
  9. Nunazaa

    Nunazaa New Member VIP

    797
    53
    0
    เ เ ร ง ดั น มั น พ อ เ เ ต่ ป ริ ม า ณ น้ำ มั น L / hr ไ ม่ น่ า จ ะ พ อ น้ า . . . . .
     
  10. broom

    broom New Member Member

    923
    46
    0
    ถ้าปริมาณมันไม่พอ แรงดันมันก็ต้องตกสิครับ....

    เรื่องเรกูเลเตอร์ แบบปรับได้ เค้าเอาไว้สำหรับปรับแต่งแรงดันน้ำมัน ให้ได้ค่าตามความเหมาะสม ซึ่งมันจะสัมพันธ์ กับ ขนาดของหัวฉีด ปริมาณน้ำมันที่ต้องจ่าย และก็ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิง ผมเห็นหลายๆ คน ต่อเรกูเลเตอร์แบบปรับได้ ต่อเข้ากับท่อน้ำมันไหลกลับถังของตัวเรกูเลเตอร์เดิม ซึ่งถ้าเป็นปั๊มเดิมก็พอไหว แต่ถ้าเปลี่ยนปั๊มให้มีแรงดันและปริมาณมากขึ้น ตัวเรกูเลเตอร์เดิมจะเป็นตัวขวางการไหลกลับของน้ำมันเชื้อเพลิง ทำให้แรงดันน้ำมันเชื้อในระบบสูงกว่าที่ควรจะเป็น ส่งผลต่อผสมน้ำมันกับอากาศ ภาระของเข็มของหัวฉีดที่เพิ่มขึ้น ระยะการยกของหัวฉีดผิดเพี้ยนไป จะทำให้กินน้ำมันมากขึ้น ถ้าปั๊มที่เปลี่ยนไปปริมาณไม่มากเท่าไหร่ ก็ไม่ค่อยมีผลมากนัก แต่ถ้าปั๊มใหญ่ แล้วต่อแบบนี้ มีปัญหาแน่ๆ ไม่ระยะสั้นก็ระยะยาว....
     
< Previous Thread | Next Thread >

แบ่งปันหน้านี้