+ + พี่ๆพอจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับการนำรถเข้าไปใช้เองในประเทศไทยไหมครับ + +

การสนทนาใน 'Racing Forum (Cars Forum)' เริ่มโดย tao_cm, 12 มีนาคม 2011

< Previous Thread | Next Thread >
  1. tao_cm

    tao_cm New Member Member

    37
    0
    0
    คืออยากจะเอารถกลับไปใช้ที่บ้านเรานะครับ ... เสียดายครับ ใช้มาเกือบ 3 ปีแล้ว เป็น Civic EK 3 doors ปี 96 อ่ะครับ ครั้นจะขายก็เสียดาย ... ที่นี้ติดปัญหาที่ว่า การคำนวณภาษีเนี๊ยะ เค้าคำนวณจากอะไรครับ

    ผมเคย e mail ไปถามทางศุลกากร ก็ไม่ได้คำตอบ อยากถามพี่ๆท่านใดมีปำสบการณ์เรื่องนี้บ้างครับ ชอบคุณมากครับผม
     
  2. Graphic

    Graphic New Member Member

    181
    3
    0
    ลองปรึกษา บริษัท Shipping เลยคับ ภาษีจะตีจากราคากลางของรถคับ แล้วจะลดหย่อนเป็นเปอร์เซนต์ ตามปีของรถคับ ถ้ารถเกินสิบปี จะประเมิณตามสภาพ
     
  3. รอฟังด้วยครับ....
     
  4. mInnu

    mInnu New Member Member

    434
    10
    0
    พี่ๆ เอากลับมาแล้ว ให้น้องยืมขี่บ้างนะ

    หรือถ้าเหลือก็เอามาฝากซํกคันก็ได้นะพี่เต๋า
     
  5. tao_cm

    tao_cm New Member Member

    37
    0
    0
    ครับๆเดี๊ยวผมจะลองปรึกษา shipping คนไทยที่ Sydney ดูครับ ระหว่างนี้พี่ๆท่านใดมีความเห็น เชิญได้นะครับผม
     
  6. TankEk

    TankEk New Member Member

    6,091
    562
    0
    ชอบมากเลย EK3DR อยากได้เหมือนกันครับ
     
  7. Xacti

    Xacti New Member Member

    25
    0
    0
    การ นำเข้ายานพาหนะส่วนบุคคลแบบถาวรการนำเข้ารถยนต์ส่วนบุคคลหากในลักษณะนี้ผู้ นำเข้าจะต้องชำระค่าภาษีอากรตามปกติ หากเป็นรถยนต์ใหม่ก็ให้ปฏิบัติพิธีการนำเข้าเช่นเดียวกับการนำเข้าสินค้า อื่น ๆ แต่หากเป็นรถยนต์นั่งเก่าใช้แล้วจะถือเป็นสินค้าควบคุมการนำเข้ามาในประเทศ ไทย ในหลักการไม่อนุญาตให้นำเข้า เว้นแต่เป็นการนำเข้าชั่วคราวหรือการนำเข้าเฉพาะตัวที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดไว้เท่านั้น
    2.1 หลักเกณฑ์การนำเข้ารถยนต์นั่งเก่าใช้แล้วแบบถาวร

    (1) นำเข้ามาใช้ได้เองเพียงคนละ 1 คัน

    (2) กรณีเป็นชาวต่างประเทศจะต้องเป็นผู้ที่จะเข้ามาอยู่ในประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 1 ปี โดยมีหนังสืออนุญาตการเข้าเมืองจากกองตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และใบอนุญาตทำงานของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมมาแสดงในการนำเข้าด้วย

    (3) กรณีชาวไทยมีคู่สมรสเป็นชาวต่างประเทศ จะต้องมีหลักฐานแสดงว่าเป็นคู่สมรสและนำรถยนต์เข้ามาเพื่อมีภูมิลำเนาใน ประเทศไทย รวมทั้งผู้นำเข้าต้องถือกรรมสิทธิ์หรือครอบครองรถยนต์คันนั้นระหว่างอยู่ใน ต่างประเทศไม่น้อยกว่า 1 ปี 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์จนถึงวันที่เดินทางเข้ามา อยู่ในประเทศไทย

    (4) กรณีเป็นชาวไทย ต้องเป็นชาวไทยที่ไปอยู่ต่างประเทศติดต่อกันเป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี 6 เดือน แล้วเดินทางกลับมามีภูมิลำเนาในประเทศไทย และถือกรรมสิทธิ์ครอบครองรถยนต์คันนั้นอยู่ในระหว่างอยู่ต่างประเทศไม่น้อย กว่า 1 ปี 6 เดือนและมีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์

    2.2 เอกสารที่ควรจัดเตรียมการนำเข้ารถยนต์แบบถาวร

    (1) เอกสารทั่วไป
    ใบขนสินค้าขาเข้า ประกอบด้วยต้นฉบับและสำเนา 1 ฉบับ
    ใบตราส่งสินค้า (Bill of Lading or Air Waybill)
    เอกสารการซื้อขายรถยนต์ (ถ้ามี)
    ใบสั่งปล่อยสินค้า (กศก.100/1)
    แบบธุรกิจต่างประเทศ (Foreign Transaction Form) กรณีสินค้านำเข้ามีราคา CIFเกิน 500,000 บาท
    ใบแจ้งยอดเบี้ยประกัน (Insurance Premium Invoice)
    เอกสารอื่น ๆ เช่น หนังสือมอบอำนาจ
    (2) เอกสารเพิ่มเติมกรณีเป็นรถยนต์เก่าใช้แล้ว
    ทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชน
    หนังสือเดินทาง กรณีย้ายภูมิลำเนา
    ทะเบียนรถยนต์ที่จดทะเบียนการใช้งานที่ต่างประเทศมาแล้ว
    ใบอนุญาตการนำเข้าจากกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

    2.3 ขั้นตอนปฏิบัติพิธีการ

    (1) ผู้นำเข้าหรือตัวแทนยื่นใบขนสินค้าพร้อมเอกสารประกอบต่อฝ่ายการนำเข้าที่ 4 ส่วนการนำเข้า สำนักงานศุลกากรนำเข้าท่าเรือกรุงเทพ หรือสำนักงาน/ด่านศุลกากรที่นำเข้า

    (2) กรมศุลกากรตรวจสอบข้อมูลในใบขนสินค้าและเอกสารประกอบ หากเอกสารถูกต้องครบถ้วนแล้ว จะออกเลขที่ใบขนสินค้า และประเมินค่าภาษีอากรที่ผู้นำเข้าจะต้องชำระ

    (3) ผู้นำเข้าหรือตัวแทนไปชำระเงินค่าภาษีอากรที่ฝ่ายบัญชีและอากร

    (4) ผู้นำเข้าหรือตัวแทนนำหลักฐานการชำระเงินมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ส่วนตรวจสินค้าเพื่อรับของออกจากอารักขาศุลกากร

    2.4 หลักเกณฑ์การประเมินอากร

    (1) กรมศุลกากรกำหนดเกณฑ์การประเมินราคาโดยใช้ราคา CIF ( ราคา + ค่าประกันภัย+ค่าขนส่ง ) เป็นฐานการประเมินอากรนำเข้า
    (2) ราคารวมค่าภาษี เป็นราคาที่รวมการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีสรรพสามิต ( ถ้ามี ) เข้าไว้ ณ. วันที่ชำระค่าภาษีรถยนต์
    (3) กรณีที่เป็นรถยนต์เก่าใช้แล้ว จะกำหนดส่วนลดตามระยะเวลาที่จดทะเบียนให้ ดังนี้



    อัตราส่วนลดราคารถยนต์นั่งใช้แล้ว
    1. จดทะเบียนใช้แล้วไม่เกิน2 เดือน
    หักส่วนลด 2.50%

    2. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า2 เดือน แต่ไม่เกิน 4 เดือน
    หักส่วนลด 5.00%

    3. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า4 เดือน แต่ไม่เกิน 6 เดือน
    หักส่วนลด 7.50%

    4. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 6 เดือน แต่ไม่เกิน 8 เดือน
    หักส่วนลด 10.00 %

    5. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 8 เดือน แต่ไม่เกิน 10 เดือน
    หักส่วนลด 12.50 %

    6. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 10 เดือน แต่ไม่เกิน 1 ปี
    หักส่วนลด 15.00 %

    7. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 1ปี2 เดือน
    หักส่วนลด 16.67 %

    8. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 1 ปี2 เดือน แต่ไม่เกิน 1ปี4 เดือน
    หักส่วนลด 18.33 %

    9. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 1 ปี4 เดือน แต่ไม่เกิน 1ปี6 เดือน
    หักส่วนลด 20.00 %

    10. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 1 ปี6 เดือน แต่ไม่เกิน 1ปี8 เดือน
    หักส่วนลด 21.67 %

    11. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า1 ปี8 เดือน แต่ไม่เกิน 1ปี10 เดือน
    หักส่วนลด 23.33 %

    12. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า1 ปี10 เดือน แต่ไม่เกิน 2 ปี
    หักส่วนลด 25.00 %

    13. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า2 ปี แต่ไม่เกิน 2ปี2 เดือน
    หักส่วนลด 26.67 %

    14. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า2 ปี2 เดือน แต่ไม่เกิน 2ปี4 เดือน
    หักส่วนลด 28.33 %

    15. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า2 ปี4 เดือน แต่ไม่เกิน 2ปี6 ดือน
    หักส่วนลด 30.00 %

    16. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า2 ปี6 เดือน แต่ไม่เกิน 2ปี8 เดือน
    หักส่วนลด 31.67 %

    17. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า2 ปี8 เดือน แต่ไม่เกิน 2ปี10 เดือน
    หักส่วนลด 33.33 %

    18. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 2 ปี10 เดือนแต่ไม่เกิน 3 ปี
    หักส่วนลด 35.00 %

    19. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า3 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี2 เดือน
    หักส่วนลด 36.67 %

    20. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า3 ปี2 เดือน แต่ไม่เกิน 3 ปี4 เดือน
    หักส่วนลด 38.33 %

    21. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า3 ปี4 เดือน แต่ไม่เกิน 3ปี6 เดือน
    หักส่วนลด 40.00 %

    22. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า3 ปี6 เดือน แต่ไม่เกิน 3 ปี8 เดือน
    หักส่วนลด 41.67 %

    23. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า3 ปี8 เดือน แต่ไม่เกิน 3 ปี10 เดือน
    หักส่วนลด 43.33 %

    24. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า3 ปี10 เดือน แต่ไม่เกิน 4 ปี
    หักส่วนลด 45.00 %

    25. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า4 ปี แต่ไม่เกิน 4 ปี2 เดือน
    หักส่วนลด 46.67 %

    26. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า4 ปี2 เดือน แต่ไม่เกิน 4 ปี4 เดือน
    หักส่วนลด 48.33 %

    27. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า4 ปี4 เดือน แต่ไม่เกิน4 ปี6 เดือน
    หักส่วนลด 50.00 %

    28. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า4 ปี6 เดือน แต่ไม่เกิน 4 ปี8 เดือน
    หักส่วนลด 51.67 %

    29. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 4 ปี8 เดือน แต่ไม่เกิน 4 ปี10 เดือน
    หักส่วนลด 53.33 %

    30. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า4 ปี10 เดือน แต่ไม่เกิน5 ปี
    หักส่วนลด 55.00 %

    31. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า5 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี2 เดือน
    หักส่วนลด 55.83 %

    32. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 5 ปี2 เดือน แต่ไม่เกิน 5 ปี4 เดือน
    หักส่วนลด 56.67 %

    33. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 5 ปี4 เดือน แต่ไม่เกิน 5 ปี6 เดือน
    หักส่วนลด 57.50 %

    34. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 5 ปี6 เดือน แต่ไม่เกิน 5 ปี8 เดือน
    หักส่วนลด 58.33 %

    35. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า5 ปี8 เดือน แต่ไม่เกิน 5 ปี10 เดือน
    หักส่วนลด 59.17 %

    36. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 5 ปี10 เดือน แต่ไม่เกิน 6 ปี
    หักส่วนลด 60.00 %

    37. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า6 ปี แต่ไม่เกิน 6 ปี2 เดือน
    หักส่วนลด 60.50 %

    38. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 6 ปี2 เดือน แต่ไม่เกิน 6 ปี4 เดือน
    หักส่วนลด 61.00 %

    39. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 6 ปี4 เดือน แต่ไม่เกิน 6 ปี6 เดือน
    หักส่วนลด 61.50 %

    40. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 6 ปี6 เดือน แต่ไม่เกิน 6 ปี8 เดือน
    หักส่วนลด 62.00 %

    41. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า6 ปี8 เดือน แต่ไม่เกิน 6 ปี10 เดือน
    หักส่วนลด 62.50 %

    42. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า6 ปี10 เดือน แต่ไม่เกิน 7 ปี
    หักส่วนลด 63.00 %

    43. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า7 ปี แต่ไม่เกิน 7 ปี2 เดือน
    หักส่วนลด 63.50 %

    44. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า7 ปี2 เดือน แต่ไม่เกิน 7 ปี4 เดือน
    หักส่วนลด 64.00 %

    45. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า7 ปี4 เดือน แต่ไม่เกิน 7 ปี6 เดือน
    หักส่วนลด 64.50 %

    46. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 7 ปี6เดือน แต่ไม่เกิน 7 ปี8 เดือน
    หักส่วนลด 65.00 %

    47. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 7 ปี8เดือน แต่ไม่เกิน 7 ปี10 เดือน
    หักส่วนลด 65.50 %

    48. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 7 ปี10 เดือน แต่ไม่เกิน 8 ปี
    หักส่วนลด 66.00 %

    49. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 8 ปี แต่ไม่เกิน 8 ปี2 เดือน
    หักส่วนลด 66.33 %

    50. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 8 ปี2 เดือน แต่ไม่เกิน 8 ปี4 เดือน
    หักส่วนลด 66.67 %

    51. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 8 ปี4 เดือน แต่ไม่เกิน 8 ปี6 เดือน
    หักส่วนลด 67.00 %

    52. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 8 ปี6 เดือน แต่ไม่เกิน 8 ปี8 เดือน
    หักส่วนลด 67.33 %

    53. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 8 ปี8 เดือน แต่ไม่เกิน 8 ปี10 เดือน
    หักส่วนลด 67.67 %

    54. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 8 ปี10 เดือน แต่ไม่เกิน 9 ปี
    หักส่วนลด 68.00 %

    55. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 9 ปี แต่ไม่เกิน 9 ปี2 เดือน
    หักส่วนลด 68.33 %

    56. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 9 ปี2 เดือน แต่ไม่เกิน 9 ปี4 เดือน
    หักส่วนลด 68.67 %

    57. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 9 ปี4 เดือน แต่ไม่เกิน 9 ปี6 เดือน
    หักส่วนลด 69.00 %

    58. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 9 ปี6 เดือน แต่ไม่เกิน 9 ปี8 เดือน
    หักส่วนลด 69.33 %

    59. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 9 ปี8 เดือน แต่ไม่เกิน 9 ปี10 เดือน
    หักส่วนลด 69.67 %

    60. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 9 ปี10 เดือน แต่ไม่เกิน10 ปี
    หักส่วนลด 70.00 %

    61. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 10 ปี


    แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

    แจ้งลบคำตอบนี้



    คำตอบที่ 3

    หมูน้อย JUC121
    หมูน้อย JUC121
    อาทิตย์
    24/5/2552
    เวลา : 06:29
    IP: 125.24.255.232

    (4) หลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณค่าภาษีอากร เป็นไปตามที่กรมศุลกากรประกาศกำหนดไว้ชัดเจน

    2.5 ตารางแสดงอัตราภาษีอากร



    ประเภทรถยนต์ ขนาดปริมาตรช่วงชักภายใน
    กระบอกสูบ อากร
    (%) สรรพสามิต
    (%)
    (ตัวคูณ) ภาษีเพื่อ
    มหาดไทย*
    (%) VAT
    (%) อัตราอากร
    รวม (%)
    ของ CIF
    1. รถยนต์นั่งส่วนบุคคล - ไม่เกิน 2400 ซีซี


    - เกิน 2400 ซีซี แต่ไม่เกิน 3000 ซีซี
    และมีกำลังไม่เกิน 220 แรงม้า


    - ไม่เกิน 3000 ซีซี หรือมีกำลังเกิน
    220 แรงม้า 80

    2. รถยนต์นั่งตรวจการณ์
    (OFF ROAD)
    ตามประกาศกระทรวง-
    การคลัง - ไม่เกิน 2400 ซีซี


    - เกิน 2400 ซีซี แต่ไม่เกิน 3000 ซีซี
    และมีกำลังไม่เกิน 220 แรงม้า

    * ภาษีเพื่อมหาดไทยจะคิดเป็น 10 % ของภาษีสรรพสามิต
    วิธีคิดอัตราอากรรวมของรถยนต์นั่งส่วนบุคคลขนาดปริมาตรช่วงชักภายในกระบอกสูบ ไม่เกิน 2400 ซีซี
    ถ้าราคา CIF ของรถยนต์นั่ง
    = 100
    อากรขาเข้า
    = 80%
    ภาษีสรรพสามิต
    = 35%
    ภาษีเพื่อมหาดไทย
    = 10%
    ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    = 7%

    วิธีคำนวณ
    1. อากรขาเข้า = (ราคา CIF x อัตราอากรขาเข้า)
    = (100 x 0.8)
    = 80
    2. ภาษีสรรพสามิต = (ราคา CIF + อากรขาเข้า) x อัตราภาษีสรรพสามิต/ 1-(1.1 x อัตราภาษีสรรพสามิต)
    = (100 + 80) x 0.35/ 1-(1.1 x 0.35)
    = 180 x 0.5691057
    = 102.439
    3. ภาษีเพื่อมหาดไทย = ภาษีสรรพสามิต x อัตราภาษีเพื่อมหาดไทย
    = 102.439 x 0.1
    = 10.2439
    4. ฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม = ราคา CIF + อากรขาเข้า + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีเพื่อมหาดไทย
    = 100 + 80 + 102.439 + 10.2439
    = 292.6829
    5. ภาษีมูลค่าเพิ่ม = ฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม x อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม
    = 292.6829 x 0.07
    = 20.4878

    รวมอัตราอากรทั้งหมด = 1 + 2 + 3 + 5 = 213.171

    2.6 ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

    ชาวไทยและชาวต่างประเทศที่มีความประสงค์จะขอทราบรายละเอียดพิธีการนำ เข้ายานพาหนะส่วนบุคคลแบบถาวร สามารถติดต่อฝ่ายการนำเข้า ส่วนการนำเข้า สำนักงานศุลกากรนำเข้าท่าเรือกรุงเทพ หรือฝ่ายเอกสิทธิและส่งเสริมการลงทุน ส่วนการนำเข้า สำนักงานศุลกากรท่าอากาศยานกรุงเทพ หรือสำนักงาน/ด่านศุลกากรที่นำเข้าทุกแห่งในวันและเวลาราชการ
     
  8. BOAM...B12

    BOAM...B12 New Member Moderator

    5,057
    775
    0
    ลองคํานวนดีๆนะครับ เพราะส่วนมากภาษีแม่งแพงกว่าหาซื้อรถในไทย
    และอีกอย่างเวลาขออนุญาตินําเข้าแม่งยากๆมาก ค่าใช้จ่ายใต้โต๊ะเยอะ ถึงแม้จะเข้าหลักเกณท์ นี่ละเมืองไทย
    เท่าที่เห็นนะส่วนใหญ่เอาเข้ามาแล้วให้กรมศุลยึด แล้วไปรอประมูลเอาที่หลัง(ต้องใช้กําลังภายในกันหนิดหน่อย)
    พอดีทําชิปปิ้งอยู่นะครับ:eek:
     
  9. tao_cm

    tao_cm New Member Member

    37
    0
    0
    เอางั้นเลยนะ.. ^^
     
  10. EddZa

    EddZa New Member Member

    797
    13
    0
    มีอีกวิธีครับ แยกชิ้นนำเข้าแล้ว จดประกอบอย่างที่เขาทำกันอยู่ครับ
     
< Previous Thread | Next Thread >

แบ่งปันหน้านี้