Multilink Beam & Torsion Beam

การสนทนาใน 'Sunny Thailand' เริ่มโดย sumruay, 20 สิงหาคม 2010

< Previous Thread | Next Thread >
  1. sumruay

    sumruay New Member Member

    205
    0
    0
    อยากทราบว่า ระบบช่วงล่างด้านหลัง มัลติลิงก์ บีม ของชาวเรา กับ ระบบทอร์ชั่นบีม ของรถเล็กยุคใหม่ วัดกันตัวต่อตัว ใครดีใครแย่กว่ากัน อย่างไรครับ
     
  2. kooljo

    kooljo New Member Member

    516
    18
    0
    มัลติลิ้งค์ดีกว่าแน่นอนครับ

    รถขนาดเล็กรุ่นใหม่ๆ ที่ออกมาเป็น ทอร์ชั่นบีม เพื่อ ขยายพิ้นที่นั่งด้านหลังให้กว้างออกไปอีกมากกว่าเน้นการยึดเกาะถนนหรือการควบคุมรถ และการขยับตัวของช่วงล่างก็ได้น้อยกว่า มัลติลิ้งค์และดับเบิ้ลวิชโบน

    อย่างไรก็ดี มัลติลิ้งค์มันมีหลายเวอร์ชั่นการออกแบบมากครับ ดีมาก ดีน้อยกว่ากันต้องเทียบเป็นรุ่นๆ เช่น 200sx หรือแม้แต่รถอย่าง S class ก็ใช้มัลติลิ้งค์
     
  3. abadahey

    abadahey Active Member Moderator

    2,753
    16
    38
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]


    MULTI-LINK BEAM
    ระบบ รองรับน้ำหนัก (SUSPENSION) ถูกผลิตมาเพื่อให้เกิดความราบเรียบ ความสะดวกสบาย และความปลอดภัยในทุกขณะ ของการขับขี่ ระบบรองรับน้ำหนักจะรักษาอาการโคลงของตัวรถ ให้อยู่ในสภาพคงที่หรือสมดุลตลอดเวลาทำให้เกิดความมั่นคงในการทรงตัว เมื่อมีแรงมากระทำที่ล้อทำให้เกิด การเคลื่อนที่ขึ้นลง ซึ่งเป็นการลดการสั่นสะเทือนของตัวถัง

    ในปัจจุบันระบบการรองรับแบบ MULTI-LINK BEAM ได้ถูกพัฒนาขึ้นใหม่ เพื่อมีประสิทธิภาพการทำงานของระบบรองรับหลังให้ดีที่สุด ด้วยคุณภาพพิเศษ 4 ประการคือ

    1. ให้ทรงตัวและยึดเกาะถนนที่ดี
    เนื่องจากระบบ MULTI-LINK BEAM จะใช้คานเหล็ก (TORSION BEAM) ที่แข็งแรงและมีน้ำหนักเบา เพื่อช่วยกดหน้าสัมผัสของยาง กับพื้นถนน ให้เป็นแนวตั้งฉากตลอดเวลาโดยมีแขนยึด (TRAILING ARM) คานยึด (LATERAL LINK) และคานควบคุม (CONTROL ROD) ทำให้ตัวถังไม่เกิดอาการ ส่ายไปมา

    2. ให้ความนุ่มนวลขณะขับขี่
    เนื่องจากคานเหล็ก (TORSION BEAM) สามารถบิดตัวรับแรงสั่นสะเทือนได้อย่างอิสระ ขณะขับขี่ผ่านทางขรุขระ รวมทั้งการติดตั้งโช๊คอัพ (SHOCK ABSORBER) ในตำแหน่งที่เหมาะสมไม่ให้เกิดแรงสวิงจากด้านนอก ส่งผลให้โช๊คอัพทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    3. ปราศจากเสียงรบกวนเข้าสู่ภายในห้องโดยสาร
    เนื่องจากโช๊คอัพและคอล์ยสปริง มีขนาดรูปทรงกะทัดรัด จุดยึดระหว่างระบบกันสะเทือนกับตัวถังด้านหลัง จะอยู่บริเวณ พื้นที่เก็บสัมภาระท้ายรถ และใช้บู้ชยางเป็นตัวเชื่อมต่อคาน (TORSION BEAM) ทำให้เสียงและแรงสั่นสะเทือนไม่ถูกส่งเข้าห้องโดยสาร

    4. ใช้พื้นที่ในการติดตั้งน้อย
    เนื่องจากมีชิ้นส่วนไม่มาก จึงสามารถขยายพื้นที่ด้านหลังเบาะนั่งและที่เก็บสัมภาระ ส่งผลให้ห้องโดยสารกว้างขวาง เพิ่มพื้นที่ใช้สอยได้มากขึ้น รวมทั้งให้ความคงทนและประหยัดค่าบำรุงรักษา

    ระบบ MULTI-LINK BEAM จึงถือได้ว่าเป็นระบบกันสะเทือนหลังที่สมบูรณ์แบบ ซึ่งทางนิสสันได้เลือกมาใช้งานและได้รับความนิยม ซึ่งถือว่าเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ของนิสสันเท่านั้น
    By: ข้อมูลจาก บริษัท สยามนิสสัน ออโตโมบิล จำกัด
     
  4. kooljo

    kooljo New Member Member

    516
    18
    0
    งั้นผมเรียง ช่วงล่างให้ละกัน

    - ช่วงล่างแบบ Swing Axle จะเป็นแบบเพลาอิสระ มีโช็คอัพ และสปริง คอยรับน้ำหนักทุกอย่าง ถือเป็นเทคโนโลยีเก่ามาก ปัจจุบันยกเลิกหมดแล้ว

    1. Double Wishbones ชื่อบอกแล้วว่า เป็นกระดูกคู่ มันจะจับดุมล้อ แบบ 2 ก้านคู่ขนานกัน ถือเป็นเทคโนโลยีเก่า แต่ก็เป็นเทคโนโลยีที่รถสปอร์ตส่วนใหญ่ใช้กัน มี Handing ดีสุด ถือเป็นช่วงล่างในอุดมคติที่สามารถจูนได้ง่ายที่สุด รถเมกาส่วนใหญ่ก็ใช้แต่ Handing กลับเลวร้ายมากเพราะ Handing มันขึ้นกับปัจจัยอื่นด้วย ส่วนใหญ่จะอยู่ในรถที่มีขนาดพอสมควร แต่รถขนาดเล็กที่ใช้ก็เป็น Honda Civic บางรุ่นเท่านั้น

    2. MacPherson strut ผู้คิดค้นชื่อ แมคเฟอสัน จากบริษัทฟอร์ด คิดค้นได้ตั้งแต่ทศวรรษที่ 50 ถ้านึก Double Wishbones ได้ ..... แม็กเฟอร์สัน สตรัท ก็จะมีแค่แขนด้านล่าง ทำให้ประหยัดแขนด้านบนไป ช่วงล่างแบบนี้ เหมาะกับช่วงล่างด้านหน้าของรถขับหน้า (เพราะต้องการพื้นที่ด้านข้างเยอะกว่าขับหลังมาก) อย่างไรก็ดี ค่า Camber มันจะมีค่าความเพี้ยนสูง แถมเป็นช่วงล่างที่ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อ Handing ที่ดีที่สุด (อย่าลืมว่าขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย)

    ช่วงทศวรรษที่ 80 บริษัทผลิตรถยนต์หลายยี่ห้อพยายาม ยัดเข้าไปด้านหลังของรถ แต่มันกลับไม่เวิร์คมาก ต่อมาด้านหลังมันจึงถูกแทนที่ด้วย ช่วงล่างที่มีราคาแพงกว่าแบบที่เป็นอิสระ อย่างไรก็ดี มันเป็นช่วงล่างที่เหมาะกับรถขนาดเล็กขับหน้าต้นทุกต่ำ (โดยเฉพาะด้านหน้าของรถ)

    3. Torsion beam คานเหล็ก มันคืออะไร คำอธิบายคือ มันจะเป็นแกนเหล็กตรงๆ แต่ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยเพื่อเพิ่มพื้นที่การใช้สอยภายในห้องผู้โดยสาร โดยเฉพาะด้านหลัง โดยออกแบบให้แกนกลางมันหักวกไปยังล้อ เป็นรูปตัว U คว่ำ แล้วล้อไปอยู่ตรงปลายตัว U ทั้ง 2 ข้างแทน มันเป็นที่นิยมในรถขนาดเล็ก เพราะมันสามารถเพิ่มพ้นที่ใช้สอยด้านหลังได้เพิ่มอีก แถมยังเป็นช่วงล่างที่มีรถคาถูก และสามารถแบ่งโช็ค และสปริงออกจากกัน (หากนึกไม่ออก ลองไปดูโช๊ค และสปริงของรถอย่างแจ๊ส จะแยกกันอยู่) แกนเหล็กที่ยึดล้อทั้ง 2 ข้างด้วยกัน ทำให้มันเป็นได้แค่ กึ่ง-อิสระ เท่านั้น ระดับ handing อยู่ระดับพอใช้เท่านั้น เนื่องจากการให้ตัวของช่วงล่างได้น้อย แต่ข้อดีคือ ประหยัดค่า anti roll Bar ไปในตัว เพราะมันยึดทั้งซ้ายแล้วขวาด้วยเหล็กแกนเดียวกันอยู่แล้ว

    ถ้าให้คะแนน Torsion Beam มันเป็นได้แค่ ระดับเดียวกับ MacPherson strut เท่านั้น ไม่สามารถสู้กับกระดูกคู่ และมัลติลิ้งค์ได้เลย

    4. Multi-link suspension ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า มีหลายแขนจับยึด (อย่างไรก็ดี ถ้าจะเรียกมัลติลิ้งค์ ต้องมี 3 แขนขึ้นไปที่ยึดจับ) การออกแบบก็ขึ้นอยู่กับรถแต่ละยี่ห้อ เช่น BMW ใช้จับแบบ Z (3แขน) หรือ Accord ใช้กระดูกคู่ แต่เพิ่มอีก 1 แขน ก็กลายเป็นมัลติลิ้งค์ แต่ที่เด็ดกว่าคือ Audi ที่มีถึง 4 แขนไปจับ

    อย่างไรก็ดี รถสปอร์ตส่วนใหญ่ก็ยังเลือกใช้ กระดูกคู่ แบบก็มีรถสปอร์ตหลายรุ่น ใช้มัลติลิ้งค์ ระดับ Handing นั้นถือว่าเป็นระดับเดียวกัน (ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ และการออกแบบของมัลติลิ้งคื) แต่ข้อเสียของมัลติลิ้งค์ คือ ราคาที่แพงที่สุด แถมยังต้องใช้พื้นที่ว่างเยอะกว่าช่วงล่างแบบอื่น ทำให้ส่วนใหญ่มันไปอยู่ในรถขนาดกลางไปถึงใหญ่มากกว่า

    สรุป

    ฺB13 ระบบแม็คเฟอร์สันสตรัทอิสระทั้ง หน้าและหลัง
    B14 B15 ระบบแม็กเฟอร์สันสตรัท หน้า ส่วนหลังเป็น Solid Rear Beam

    คำอธิบายจากเวปของ SR20forum สรุปง่ายๆว่า เนื่องจาก B13 เป็นอิสระทั้ง 4 ล้อ ทางขุรขระและการขับเข้าโค้งที่ความเร็วต่ำ B13 จะดีกว่า B14 แต่ถ้าเข้าโค้งด้วยความเร็วสูงแล้ว B14 กินขาด ส่วนการจูนช่วงล่าง B13 จูนง่ายกว่ามาก

    หมายเหตุ ถ้าอ่านจากข้างบน แสดงว่า B14 คือ Multi Link ที่ออกแบบที่มีอีกแขนมาจาก Torsion Beam ยึดด้านซ้ายและขวานั่นเอง ดังนั้น B14 ไม่น่าจะมีขาย โรลบาร์ด้านล่างแล้วนะ

    ---------- เพิ่มกระทู้ เมื่อ 21:23:27 ---------- กระทู้ก่อนหน้านี้ เมื่อ 21:23:36 ----------

    งั้นผมเรียง ช่วงล่างให้ละกัน

    - ช่วงล่างแบบ Swing Axle จะเป็นแบบเพลาอิสระ มีโช็คอัพ และสปริง คอยรับน้ำหนักทุกอย่าง ถือเป็นเทคโนโลยีเก่ามาก ปัจจุบันยกเลิกหมดแล้ว

    1. Double Wishbones ชื่อบอกแล้วว่า เป็นกระดูกคู่ มันจะจับดุมล้อ แบบ 2 ก้านคู่ขนานกัน ถือเป็นเทคโนโลยีเก่า แต่ก็เป็นเทคโนโลยีที่รถสปอร์ตส่วนใหญ่ใช้กัน มี Handing ดีสุด ถือเป็นช่วงล่างในอุดมคติที่สามารถจูนได้ง่ายที่สุด รถเมกาส่วนใหญ่ก็ใช้แต่ Handing กลับเลวร้ายมากเพราะ Handing มันขึ้นกับปัจจัยอื่นด้วย ส่วนใหญ่จะอยู่ในรถที่มีขนาดพอสมควร แต่รถขนาดเล็กที่ใช้ก็เป็น Honda Civic บางรุ่นเท่านั้น

    2. MacPherson strut ผู้คิดค้นชื่อ แมคเฟอสัน จากบริษัทฟอร์ด คิดค้นได้ตั้งแต่ทศวรรษที่ 50 ถ้านึก Double Wishbones ได้ ..... แม็กเฟอร์สัน สตรัท ก็จะมีแค่แขนด้านล่าง ทำให้ประหยัดแขนด้านบนไป ช่วงล่างแบบนี้ เหมาะกับช่วงล่างด้านหน้าของรถขับหน้า (เพราะต้องการพื้นที่ด้านข้างเยอะกว่าขับหลังมาก) อย่างไรก็ดี ค่า Camber มันจะมีค่าความเพี้ยนสูง แถมเป็นช่วงล่างที่ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อ Handing ที่ดีที่สุด (อย่าลืมว่าขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย)

    ช่วงทศวรรษที่ 80 บริษัทผลิตรถยนต์หลายยี่ห้อพยายาม ยัดเข้าไปด้านหลังของรถ แต่มันกลับไม่เวิร์คมาก ต่อมาด้านหลังมันจึงถูกแทนที่ด้วย ช่วงล่างที่มีราคาแพงกว่าแบบที่เป็นอิสระ อย่างไรก็ดี มันเป็นช่วงล่างที่เหมาะกับรถขนาดเล็กขับหน้าต้นทุกต่ำ (โดยเฉพาะด้านหน้าของรถ)

    3. Torsion beam คานเหล็ก มันคืออะไร คำอธิบายคือ มันจะเป็นแกนเหล็กตรงๆ แต่ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยเพื่อเพิ่มพื้นที่การใช้สอยภายในห้องผู้โดยสาร โดยเฉพาะด้านหลัง โดยออกแบบให้แกนกลางมันหักวกไปยังล้อ เป็นรูปตัว U คว่ำ แล้วล้อไปอยู่ตรงปลายตัว U ทั้ง 2 ข้างแทน มันเป็นที่นิยมในรถขนาดเล็ก เพราะมันสามารถเพิ่มพ้นที่ใช้สอยด้านหลังได้เพิ่มอีก แถมยังเป็นช่วงล่างที่มีรถคาถูก และสามารถแบ่งโช็ค และสปริงออกจากกัน (หากนึกไม่ออก ลองไปดูโช๊ค และสปริงของรถอย่างแจ๊ส จะแยกกันอยู่) แกนเหล็กที่ยึดล้อทั้ง 2 ข้างด้วยกัน ทำให้มันเป็นได้แค่ กึ่ง-อิสระ เท่านั้น ระดับ handing อยู่ระดับพอใช้เท่านั้น เนื่องจากการให้ตัวของช่วงล่างได้น้อย แต่ข้อดีคือ ประหยัดค่า anti roll Bar ไปในตัว เพราะมันยึดทั้งซ้ายแล้วขวาด้วยเหล็กแกนเดียวกันอยู่แล้ว

    ถ้าให้คะแนน Torsion Beam มันเป็นได้แค่ ระดับเดียวกับ MacPherson strut เท่านั้น ไม่สามารถสู้กับกระดูกคู่ และมัลติลิ้งค์ได้เลย

    4. Multi-link suspension ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า มีหลายแขนจับยึด (อย่างไรก็ดี ถ้าจะเรียกมัลติลิ้งค์ ต้องมี 3 แขนขึ้นไปที่ยึดจับ) การออกแบบก็ขึ้นอยู่กับรถแต่ละยี่ห้อ เช่น BMW ใช้จับแบบ Z (3แขน) หรือ Accord ใช้กระดูกคู่ แต่เพิ่มอีก 1 แขน ก็กลายเป็นมัลติลิ้งค์ แต่ที่เด็ดกว่าคือ Audi ที่มีถึง 4 แขนไปจับ

    อย่างไรก็ดี รถสปอร์ตส่วนใหญ่ก็ยังเลือกใช้ กระดูกคู่ แบบก็มีรถสปอร์ตหลายรุ่น ใช้มัลติลิ้งค์ ระดับ Handing นั้นถือว่าเป็นระดับเดียวกัน (ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ และการออกแบบของมัลติลิ้งคื) แต่ข้อเสียของมัลติลิ้งค์ คือ ราคาที่แพงที่สุด แถมยังต้องใช้พื้นที่ว่างเยอะกว่าช่วงล่างแบบอื่น ทำให้ส่วนใหญ่มันไปอยู่ในรถขนาดกลางไปถึงใหญ่มากกว่า

    สรุป

    ฺB13 ระบบแม็คเฟอร์สันสตรัทอิสระทั้ง หน้าและหลัง
    B14 B15 ระบบแม็กเฟอร์สันสตรัท หน้า ส่วนหลังเป็น Solid Rear Beam

    คำอธิบายจากเวปของ SR20forum สรุปง่ายๆว่า เนื่องจาก B13 เป็นอิสระทั้ง 4 ล้อ ทางขุรขระและการขับเข้าโค้งที่ความเร็วต่ำ B13 จะดีกว่า B14 แต่ถ้าเข้าโค้งด้วยความเร็วสูงแล้ว B14 กินขาด ส่วนการจูนช่วงล่าง B13 จูนง่ายกว่ามาก

    หมายเหตุ ถ้าอ่านจากข้างบน แสดงว่า B14 คือ Multi Link ที่ออกแบบที่มีอีกแขนมาจาก Torsion Beam ยึดด้านซ้ายและขวานั่นเอง ดังนั้น B14 ไม่น่าจะมีขาย โรลบาร์ด้านล่างแล้วนะ
     
  5. abadahey

    abadahey Active Member Moderator

    2,753
    16
    38
    ข้อมูลๆ ดีๆ
     
  6. sumruay

    sumruay New Member Member

    205
    0
    0
    แหล่มมาก ความรู้สุดๆ ขอบคุณมากค้าบ
     
  7. 1ST

    1ST New Member Racer

    5,672
    583
    0
    สุดยอดเเล้ว Multilink Beam B14เนี่ย

    ให้เค้าโค้งจนตัวถัง เอียง ตูด ออกยังไง มันก็ยังยืนยันที่จะให้มุมล้อตั้งฉากกับพื้น

    จนฉุดไม่ไหว เเล้วก็หมุน ติ้วๆๆ 555

     
  8. SR-FA-DAM

    SR-FA-DAM New Member Member

    8,331
    913
    0
    ช่วงล่าง ไม่ค่อยถนัด อ่ะ :D:D:D:D
     
  9. vampire258

    vampire258 New Member VIP

    1,639
    25
    0
    ผมว่ามันเกาะดีกว่านะ มัลติลิ้ง
     
< Previous Thread | Next Thread >

แบ่งปันหน้านี้